นบ.ยส.24 โชว์ผลงานประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือน (ต.ค.67 - มี.ค.68) สนองตอบตามแผน ปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe   

          นบ.ยส.24 โชว์ผลงานประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือน (ต.ค.67 - มี.ค.68) สนองตอบตามแผน ปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด Seal Stop Safe ของรัฐบาลสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติด

            วันที่ 4 เมษายน 2568 เวลา 1000 น. พลโทบุญสิน  พาดกลาง แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24) มอบหมายให้  พลตรีฉัฐชัย  มีชั้นช่วง  ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่210/รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ                (ผบ.มทบ.210/รอง ผบ.นบ.ยส.24 (2)) เป็นประธานการประชุมสรุปผลการปฏิบัติงานที่สำคัญรอบ 6 เดือน    (ต.ค.67 - มี.ค.68) และหารือ ประสานงาน/บูรณาการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2568                    โดยมีหน่วยงาน/ส่วนราชการในพื้นที่จังหวัดนครพนม จำนวน 15 หน่วย และหน่วยงาน/ส่วนราชการนอกพื้นที่จังหวัดนครพนม ผ่านระบบประชุมทางไกล Video Conference (ผ่าน Zoom meeting) จำนวน 54 หน่วย   ในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบัญชาการ สกัดกั้น และปราบปรามยาเสพติด สารตั้งต้น และเคมีภัณฑ์ ชายแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 7 จังหวัด 25 อำเภอชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมพระยอด กองบังคับการมณฑลทหารบกที่210 ค่ายพระยอดเมืองขวาง ตำบลกุรุคุ  อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม
ปัจจุบันสถานการณ์ยังคงมีการลักลอบลำเลียงยาเสพติด/เข้ามาในพื้นที่ชายแดน และพื้นที่ตอนในอย่างต่อเนื่อง จากการตรวจสอบเครือข่ายและกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง พบว่ามีการเชื่อมโยงกับบุคคลจาก สปป.ลาวและมีคนไทยในพื้นที่ชายแดนเป็นผู้ขนส่ง โดยได้รับค่าจ้างในราคาที่สูงซึ่งเป็นแรงจูงใจสำคัญโดยพบว่าขบวนการลักลอบ  ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ซึ่งพฤติการณ์ส่วนใหญ่จะนำยาเสพติดมาพักคอยในพื้นที่เมืองชายแดน ของ สปป.ลาว ก่อนจะใช้เรือลำเลียงมาตามแม่น้ำโขง บางพื้นที่จะนำยาเสพติดขึ้นไปพักคอยบนเกาะดอน ก่อนลักลอบนำเข้ามาในฝั่งไทยจะใช้วิธีการนำยาเสพติดที่อำพรางมาในรูปแบบต่างๆ (รูปปั้น สินค้าทางการเกษตร สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารเสริม) ไปกระจายตามพื้นที่ และให้กลุ่มลำเลียงมารับตามจุดที่นัดหมาย   เพื่อขนย้ายด้วยยานพาหนะขนาดใหญ่หรือยานพาหนะส่วนบุคคลไปตามเส้นทางชนบทที่ยากต่อการตรวจสอบ ก่อนจะนำยาเสพติดมาพักคอยตามปั๊มน้ำมัน บ้านพัก หรือรีสอร์ทในพื้นที่อำเภอตอนในต่อไป
             สรุปสถิติและการปฏิบัติที่สำคัญแต่ละมาตรการตั้งแต่ 1 ตุลาคม2567 ถึง ปัจจุบัน ดังนี้
1. มาตรการสกัดกั้น : มอบให้ กองกำลังป้องกันชายแดน เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีสถิติการซุ่มเฝ้าตรวจ 18,838 ครั้ง,ลาดตระเวนทางบก 16,351 ครั้ง,ลาดตระเวนทางน้ำ 169 ครั้ง,จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 4,656 ครั้งรายละเอียดตามจอภาพ/ เป็นผลทำให้สามารถสกัดกั้นยาเสพติดที่สำคัญในพื้นที่ ณ แนวชายแดนได้ แยกเป็นยาบ้า จำนวน 64,000,005 เม็ด, ไอซ์ น้ำหนัก 2,603 กก., เฮโรอีน น้ำหนัก 124 กก. 
2. มาตรการปราบปราม : มอบให้ ตำรวจภูธรภาค 3, ภาค 4 และตำรวจปราบปรามยาเสพติดเป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการปิดล้อมตรวจค้น 231 ครั้ง ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สินคดียาเสพติด จำนวน 73 คดี 
รวมผลการตรวจยึดจับกุมตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ณ ปัจจุบัน มีการตรวจยึดจับกุม จำนวน 607 ครั้ง ผู้ต้องหา 848 ราย ของกลาง ยาบ้า 86,767,305 เม็ด,ไอซ์ 3,124.644 กิโลกรัม, เฮโรอีน 124 กก. เคตามีน 776.87 กิโลกรัม และอื่นๆ รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้นมากถึง ห้าพันเก้าร้อยล้านบาทเศษ (5,936,581,800 บาท)
3. มาตรการป้องกัน : มอบให้ ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก     โดยมีการปฏิบัติการจิตวิทยาและการประชาสัมพันธ์ จำนวน 1,896 ครั้ง, ฝึกอบรมพัฒนา ชรบ. จำนวน 116 ครั้ง,การปฏิบัติงานของ ชรบ. จำนวน 872 ครั้ง, การจัดระเบียบสังคม จำนวน 748 ครั้ง,  การอบรมและการสร้างชุมชนเข้มแข็ง จำนวน 66 ครั้ง
4. มาตรการบำบัดรักษา : มอบให้ สาธารณสุขจังหวัด เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการดำเนินโครงการชุมชนล้อมรักษ์ (CBTx) จำนวน  2,852 ราย ดำเนินโครงการมินิธัญญารักษ์ จำนวน 1,421 ราย ดำเนินการรายงานในระบบข้อมูลการบำบัดรักษา และฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดของประเทศ จำนวน 8,073 ราย ควบคุมตัวบุคคลคลุ้มคลั่ง จำนวน 300 ราย 
5.มาตรการบูรณาการ : เน้นให้ทุกส่วนราชการ บูรณาการร่วมกันทั้งงานด้านการข่าว และแผนงานโครงการ ต่างๆ โดยมีการดำเนินการจัดการประชุมขับเคลื่อนงานแก้ไขปัญหายาเสพติด 245 ครั้ง ดำเนินการประชุมโต๊ะข่าวแลกเปลี่ยนข้อมูล 106 ครั้ง กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด 94 ครั้ง
6. มาตรการประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน : มอบให้ ส่วนบังคับบัญชา, ส่วนอำนวยการ ของ นบ.ยส.24, ปปส.ภาค 3 และ ปปส.ภาค 4 เป็นหน่วยรับผิดชอบหลัก โดยมีการพบปะพัฒนาสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน จำนวน 32 ครั้ง ดำเนินการประชุมแลกเปลี่ยนข่าวสาร จำนวน 2 ครั้ง ประสานการจับกุม และส่งมอบผู้ต้องหาข้ามประเทศ จำนวน 1 ครั้ง
ซึ่งมีตัวชี้วัดประสิทธิภาพการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เป้าหมาย ตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” ผนึกกำลัง 51 อำเภอชายแดน (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) หน่วยมีผลการปฏิบัติตามมาตรการสกัดกั้นและปราบปราม ณ แนวชายแดน โดยทำการซุ่มเฝ้าตรวจ 6,540 ครั้ง, ลาดตระเวนทางน้ำ 64 ครั้ง, ลาดตระเวนทางบก 5,383 ครั้ง, จัดตั้งจุดตรวจด่านตรวจ 1,530 ครั้ง ทำการปิดล้อมตรวจค้น 47 ครั้ง ติดตามจับกุม ขยายผล และยึดทรัพย์สิน คดียาเสพติด จำนวน 28 คดี รวมผลการตรวจยึดจับกุมตั้งแต่ห้วงเปิดปฏิบัติการสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติด “Seal Stop Safe” (1 ก.พ. – 31 ก.ค. 68) มีการตรวจยึดจับกุมจำนวน 216 ครั้ง/ ผู้ต้องหา 272 ราย ของกลาง ยาบ้า 26,970,802 เม็ด,ไอซ์ 1,216.336 กิโลกรัม, และอื่นๆ
นายพรพิพัฒน์  เพ็ชรสังหาร ภาพ/ข่าว

 




หวยเด็ดงวดนี้
เรื่องอื่นๆในหมวด