ศาลเจ้ากวนอูวัดโรงบ่มยางงามนาเฉลียงอำเภอหนองไผ่จ.เพชรบูรณ์ เป็นตัวแทนประเทศไทย จัดงานวัฒนธรรมกวนกงนานาชาติ ประจำปี 2567
ศาลเจ้ากวนอูวัดโรงบ่มยางงามนาเฉลียงอำเภอหนองไผ่จ.เพชรบูรณ์ เป็นตัวแทนประเทศไทย จัดงานวัฒนธรรมกวนกงนานาชาติ ประจำปี 2567 ขึ้น ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม และวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567
โดยมีคณะตัวแทนผู้ศรัทธาเทพเจ้ากวนอู จาก 11 ประเทศ กว่า 200 คน อัญเชิญรูปเคารพองค์เทพเจ้ากวนอู เดินทางเข้าร่วมพิธี ประกอบด้วย จีน ไต้หวัน มาเก๊า ญี่ปุ่น เวียดนาม มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ลาว ฟิลิปปินส์ และฝรั่งเศส โดยกำหนดจัดพิธีสักการะเทพเจ้ากวนอูประจำปี และการแลกเปลี่ยนศิลปะวัฒนธรรมและการแสดงนานาชาติ พิธีการจัดงานเลี้ยงสังสรรค์รับรอง โดยลำดับพิธีการสำคัญกำหนดจัดขึ้น เพื่อเฉลิมพระเกียรติในปีมหามงคล 6 รอบพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และเพิ่มความเป็นศิริมงคลแก่เมืองเพชรบูรณ์
วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ช่วงเวลา 08.29 น.กำหนดการรำถวาย และพิธีคชสารน้อมสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ โดยช้างแสนรู้ จำนวน 33 เชือก จาก จ.สุรินทร์โดยมี ดร.วิศัลย์ โฆสิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรม ดร.เสกสรรค์ นิยมเพ็ง นายกเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สื่อมวลชนฯร่วมพิธีสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จากนั้นเป็นการอัญเชิญรูป สักการะองค์เทพเจ้ากวนอู อันศักดิ์สิทธิ์ แห่รอบเมืองในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยผู้บริหาร บุคคลสำคัญ สื่อมวลชน ของจ.เพชรบูรณ์ พร้อมผู้นำคณะศรัทธากวนอู จาก 11 ประเทศ จะให้เกียรติรับเชิญนั่งหลังช้าง 33 เชือกร่วมขบวน เพื่อความเป็นศิริมงคลต่อชีวิต และที่ได้เตรียมการไว้เป็นพิเศษในโอกาสนี้คือ ชาวเพชรบูรณ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมที่หน้าศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ ในเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2567 จะได้รับโอกาสนั่งช้างร่วมขบวนแห่โดยไม่มีเสียค่าใช้จ่าย จำนวน 4 คน ช้าง 2 เชือก โดยการจับฉลากคัดเลือก
วันที่ 31 ตุลาคม 2567 ช่วงเวลา 08.29 น.กำหนดการรำถวาย และพิธีคชสารน้อมสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพชรบูรณ์ โดยช้างแสนรู้ จำนวน 33 เชือก จาก จ.สุรินทร์โดยมี ดร.วิศัลย์ โฆสิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรม ดร.เสกสรรค์ นิยมเพ็ง นายกเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ สื่อมวลชนฯร่วมพิธีสักการะศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จากนั้นเป็นการอัญเชิญรูป สักการะองค์เทพเจ้ากวนอู อันศักดิ์สิทธิ์ แห่รอบเมืองในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ โดยผู้บริหาร บุคคลสำคัญ สื่อมวลชน ของจ.เพชรบูรณ์ พร้อมผู้นำคณะศรัทธากวนอู จาก 11 ประเทศ จะให้เกียรติรับเชิญนั่งหลังช้าง 33 เชือกร่วมขบวน เพื่อความเป็นศิริมงคลต่อชีวิต และที่ได้เตรียมการไว้เป็นพิเศษในโอกาสนี้คือ ชาวเพชรบูรณ์ที่เข้าร่วมกิจกรรมที่หน้าศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์ ในเช้าวันที่ 31 ตุลาคม 2567 จะได้รับโอกาสนั่งช้างร่วมขบวนแห่โดยไม่มีเสียค่าใช้จ่าย จำนวน 4 คน ช้าง 2 เชือก โดยการจับฉลากคัดเลือก
ประธานศาลเทพเจ้ากวนอู โรงเจโรงบ่ม กล่าวอีกว่า ในช่วงเช้าวันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 กำหนดจัดพิธีตักบาตรพระบนหลังช้าง ที่โรงเจโรงบ่ม นาเฉลียง-ยางงาม อ.หนองไผ่ เพื่อร่วมทำบุญและเป็นเผยแพร่ประเพณีที่มีหนึ่งเดียวในโลกของประเทศไทย ซึ่งตามความเชื่อของชาวไทยโดยทั่วไป ถือว่าช้างเป็นสัตว์สัญลักษณ์และความภาคภูมิใจของประเทศไทย เป็นสัตว์ใหญ่ทรงพลังและฉลาดเฉลียว เป็นสัตว์มงคล ดังนั้นหากบุคคลใดได้มีโอกาสร่วมพิธีกรรมที่เกี่ยวกับช้าง เช่น ให้อาหารเลี้ยงช้าง ลอดท้องช้าง หรือนั่งหลังช้าง ถือเป็นการสะเดาะเคราะห์ ปัดเป่าสิ่งอัปมงคล เสริมกำลังใจให้ชีวิต สำหรับช้างที่นำมาเข้าร่วมพิธี เดินทางมาจากหมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ นำโดย ช้างพ่อใหญ่ศรีทัพไทย ซึ่งมีอายุมากกว่า 60 ปี มีงายาวและรูปร่างสูงใหญ่ ได้รับการฝึกเป็นช้างแสนรู้ เคยเข้าร่วมการแสดงภาพยนตร์และละครทางโทรทัศน์มาแล้วหลายเรื่อง “สำหรับเส้นทางการเดินของขบวน จะเริ่มจาก ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ผ่านศาลกลางเก่า สี่แยกไปรษณีย์ สี่แยกธนาคารกรุงเทพ วงเวียนน้ำพุหลักเมืองนครบาล หอนาฬิกาอนุสรณ์แชมป์โลก ผ่านหน้าวัดมหาธาตุ สี่แยกดาวเฮง และสิ้นสุดที่ลานผาเมือง ใกล้กับศาลหลักเมืองเพชรบูรณ์”นางบุษบา เหง้าสาลี กล่าวในที่สุด
ประวัติเทพเจ้ากวนอู ตามพงศาวดารเรื่องสามก๊ก กวนอูเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่และเตียวหุย ใบหน้าท่านแดงตลอดเวลาเหมือนพุทราสุก มีหนวดเครางดงาม มีง้าวเป็นอาวุธคู่กาย ท่านมีความรอบรู้ด้านการทหารมาก มีพาหนะสุดยอดคือม้าเซ็กเทา ท่านร่วมชีวิตในการศึกร่วมกับเล่าปี่ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีและกล้าหาญ หลังจากท่านสิ้นชีวิตลงท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สูงส่ง ได้รับการยกย่องเทิดทูนอย่างสูงจากชาวจีนในปัจจุบัน ในทางลัทธิเต๋าได้ยกย่องให้กวนอูเป็น "เซียน" แห่งความภักดี ความซื่อสัตย์ อีกทั้งยังถือว่าเป็น เทพแห่งโชคลาภเรียกกันว่า "อู่ไฉเสินเย่" หรือ "ไฉ่ซิงเอี๊ยบู๊" ในขณะที่ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ยกย่องให้กวนอูเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เรียกกันว่า "พระสังฆรามโพธิสัตว์" หรือ "เจียหลานผูซ่า" มีความเชื่อสำคัญว่า การบูชากราบไหว้เทพเจ้ากวนอู จะทำให้ประสบความสำเร็จ พบแต่ความซื่อสัตย์ อีกทั้งมีคนเคารพนับถือต่อผู้ที่บูชา ปราศจากคนปองร้าย รวมทั้งสามารถฝ่าฟัน ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆในชีวิตได้ด้วยดี คิดการใดๆก็จะประสบความสำเร็จ ศาลเทพเจ้ากวนอูโรงเจโรงบ่ม นาเฉลียง-ยางงาม อ.หนองไผ่ ตั้งอยู่ 555 ต. ยางงาม อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดย นางบุษบา เหง้าสาลี เป็นผู้นำคณะศรัทธาจัดสร้าง และเป็นประธานนำประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและความศรัทธา ต่อองค์เทพเจ้ากวนอู มาถึง 20 ปี โดยเป็นสมาชิกของคณะกรรมการวัฒนธรรมกวนกงนานาชาติ ซึ่งมีสมาชิกในประเทศต่างๆทั่วโลก
ประวัติเทพเจ้ากวนอู ตามพงศาวดารเรื่องสามก๊ก กวนอูเป็นพี่น้องร่วมสาบานกับเล่าปี่และเตียวหุย ใบหน้าท่านแดงตลอดเวลาเหมือนพุทราสุก มีหนวดเครางดงาม มีง้าวเป็นอาวุธคู่กาย ท่านมีความรอบรู้ด้านการทหารมาก มีพาหนะสุดยอดคือม้าเซ็กเทา ท่านร่วมชีวิตในการศึกร่วมกับเล่าปี่ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีและกล้าหาญ หลังจากท่านสิ้นชีวิตลงท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นเทพเจ้าแห่งคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สูงส่ง ได้รับการยกย่องเทิดทูนอย่างสูงจากชาวจีนในปัจจุบัน ในทางลัทธิเต๋าได้ยกย่องให้กวนอูเป็น "เซียน" แห่งความภักดี ความซื่อสัตย์ อีกทั้งยังถือว่าเป็น เทพแห่งโชคลาภเรียกกันว่า "อู่ไฉเสินเย่" หรือ "ไฉ่ซิงเอี๊ยบู๊" ในขณะที่ทางพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ยกย่องให้กวนอูเป็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่ง เรียกกันว่า "พระสังฆรามโพธิสัตว์" หรือ "เจียหลานผูซ่า" มีความเชื่อสำคัญว่า การบูชากราบไหว้เทพเจ้ากวนอู จะทำให้ประสบความสำเร็จ พบแต่ความซื่อสัตย์ อีกทั้งมีคนเคารพนับถือต่อผู้ที่บูชา ปราศจากคนปองร้าย รวมทั้งสามารถฝ่าฟัน ต่อสู้กับอุปสรรคต่างๆในชีวิตได้ด้วยดี คิดการใดๆก็จะประสบความสำเร็จ ศาลเทพเจ้ากวนอูโรงเจโรงบ่ม นาเฉลียง-ยางงาม อ.หนองไผ่ ตั้งอยู่ 555 ต. ยางงาม อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ โดย นางบุษบา เหง้าสาลี เป็นผู้นำคณะศรัทธาจัดสร้าง และเป็นประธานนำประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อและความศรัทธา ต่อองค์เทพเจ้ากวนอู มาถึง 20 ปี โดยเป็นสมาชิกของคณะกรรมการวัฒนธรรมกวนกงนานาชาติ ซึ่งมีสมาชิกในประเทศต่างๆทั่วโลก