ชัยภูมิ / ม่วนคักขบวนผีสุ่ม ออกอาละวาดสร้างความสนุกสนานสืบสานประเพณีหนึ่งเดียวในโลก  

        ชัยภูมิ / ม่วนคักขบวนผีสุ่ม ออกอาละวาดสร้างความสนุกสนานสืบสานประเพณีหนึ่งเดียวในโลก

                   วันที่ 15 กันยายน 2567 นางสาวอรอาภา โล่ห์วีระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วย
นางณัฎชุดา นันทนี  ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ นางเภาลีนา โล่ห์วีระ นายกองค์กรบริหารส่วนตำบลบ้านเล่า ผอ.ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ คณะบริหารเทศบาลเมืองชัยภูมิ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันทำพิธีเปิดงานสืบสานประเพณีแห่ผีสุ่ม ที่จะมีขึ้นในระหว่าง วันที่ 14-15 ก.ย.2566 นี้ อย่างเป็นทางการ ซึ่งในวันแรกของวันที่ 14 ก.ย.66 นี้ ในการทำพิธีนำหน้ากากผีสุ่ม บายศรี เครื่องไหว้ถวายต่อหน้าอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล หรือพระยาภักดีชุมพลเจ้าเมืองคนแรก  ณ รอบวงเวียนอนุสาวรีย์เจ้าพ่อพญาแล ย่านกลางใจเมืองชัยภูมิ ที่ปีนี้เป็นการสืบสารประเพณีโบราณประเพณีแห่ผีสุ่ม หนึ่งเดียวในโลกมาต่อเนื่องอย่างยิ่งใหญ่มาต่อเนื่องกว่าทุกปีที่ผ่านมา ของการเปิดงานแห่ผีสุ่มอย่างเป็นทางการ จะมีขบวนแห่ผีสุ่มให้ประชาชนทั่วทั้งจังหวัดชัยภูมิ และนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางมาเที่ยวชมได้ในช่วง 2 วัน ในวันนี้จะมีผู้ร่วมขบวนแห่แต่งกายเป็น “ผีสุ่ม” จำนวนมากกว่า 2,000 ตัว เพื่อแห่ขบวนบอกกล่าวและบอกบุญที่บริเวณชุมชนตลาดในเขตเทศบาลเมืองชัยภูมิ 

            ในช่วงวันที่ 2  ที่วัดสมศรี ในหมู่บ้านเสี้ยวน้อย ตำบลบ้านเล่า อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่เป็นหมู่บ้านต้นกำเนิดประเพณีแห่ผีสุ่มหนึ่งเดียวในโลกของ จ.ชัยภูมิ ตั้งแต่ตอนเช้า มีการแห่ขบวนแห่ผีสุ่มยาวหลายกิโลเมตร ไปทั่ว 15 หมู่บ้าน ใน ต.บ้านเล่า พร้อมทำพิธีไหว้ผีบ้าน ผีเรือน ผีปู่ย่าตายาย บวงสรวงผีสุ่มและทำบุญ ที่จะตรงกับช่วงประเพณีบุญเดือนสิบ ของทุกปีตามประเพณีไทยชาวไทยอีสานมาช้านานแต่โบราณ หรือเรียกว่า บุญข้าวสาก ที่ชาว จ.ชัยภูมิ และประเพณีแห่ผีสุ่ม จะถือปฏิบัติสืบทอดต่อกันมายาวนาน เพื่อการบริจาคทานให้กับญาติ ผู้ล่วงลับ ผีไร้ญาติไม่มีญาติพี่น้องทำบุญไปหา ต้องเร่ร่อนไม่ได้ไปผุดไปเกิด ในขบวนแห่ผีสุ่มของชาวบ้าน ต.บ้านเล่า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ มีผีสุ่มทั้งประเภทสวยงาม และประเภทความคิดสรรค์ จาก 15 หมู่บ้านของตำบลบ้านเล่า จัดขบวนแห่ ขบวนการละเล่นของบรรดาผีสุ่มหลายยร้อยตัว การทำบุญทำทาน อุทิศส่วนกุศลให้บรรพชน ที่ล่วงลับไปแล้ว แห่ขบวนผีสุ่ม ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในพื้นที่ตำบลบ้านเล่า ก่อนจะวกกลับมายังวัดสมศรี เพื่อร่วมกันนำข้าวสาร อาหารแห้ง ที่ได้รับบริจาคมารวมที่จุดรวมข้าสาก ทำพิธีถวายข้าวสาก และอุทิศส่วนกุศลให้ผีบ้าน ผีปู่ย่าตายาย ผีไม่มีญาติ การละเล่นพื้นบ้าน ต่าง ๆ ตลอดทั้งวัน น.ส.อรอาภา โล่ห์วีระ รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมนางณัฎชุดา นันทนี ท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดชัยภูมิ ททท.นครราชสีมา ส่วนราชการเกี่ยวข้องร่วมออกสเต็ปการเต้นอย่างสนุกสนาน ไปพร้อมกับขบวนผีสุ่มจากหมู่บ้านต่างๆ ไฮไลท์ของการจัดแห่ผีสุ่มคือขณะแห่ผีสุ่ม ที่จะมีการนำเอาอุปกรณ์ในการทำการเกษตรมาเคาะตี ให้เกิดจังหวะ แล้วร่วมกันเต้นรำ ผีสุ่มแต่ละตัวจะโยกย้าย สายเอว สายหัวที่ครอบด้วยผีสุ่ม รูปลักษณ์แปลกตาในเชิงสรรค์ สวยงาม ไปตามเส้นทางในหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านต่าง ๆ จะออกมาร่วมทำบุญ นำเอาข้าวของ อาหาร น้ำดื่มมาให้ผีสุ่มที่แห่มากับขบวนแห่ พร้อมกับอธิษฐานแผ่เมตตาให้กับผีปู่ย่าของตน เจ้ากรรมนายเวร และผีไม่มีญาติทั้งหลาย โดยข้าวของที่นำมาวางไว้นั้น ทางญาติๆจะแจ้งให้พระแม่ธรณีทราบไว้แล้วว่าเป็นของผีตนใด 

          เมื่อผีมาถึงก็จะมารับและรีบกลับยมโลกต่อไป ส่วนผีตนใดที่ไม่มีญาติๆนำข้าวของมาฝากไว้ ก็จะไม่สามารถรับของคนอื่นได้ นอกจากผีเจ้าของจะอนุญาต ซึ่งจะมีผีไร้ญาติบางตน ต้องขอบริจาคข้าวของจากเพื่อนผีๆ แต่ด้วยความอับอาย จึงนำสุ่ม มาครอบหัว และตัว เพื่อไม่ให้ผีตนใดเห็นหน้า และร่วมสนุกสนานกับเพื่อนผี พร้อมรีบเดินทางกลับยมโลกก่อนฟ้าสาง เมื่อเริ่มขบวนแห่ผีสุ่ม บรรยากาศในขบวนเป็นไปอย่างสนุกสนาน ผีสุ่มแต่ละตัว ต่างได้ออกสเต็ปแดนซ์กระจาย ประเพณีแห่“ผีสุ่ม” เป็นความเชื่อที่ถูกสืบทอดมาแต่โบราญของชาวบ้านเสี้ยวน้อย ต.บ้านเล่า อ.เมือง จ.ชัยภูมิ เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ส่วนผีที่ไม่มีลูกหลานหรือญาติไปทำบุญให้ ก็จะไปขอรับส่วนบุญหรืออาหารจากผีตนอื่น แต่ด้วยความอับอายจึงเอาสุ่มไก่ สุ่มดักปลา มาคลุมหัวคลุมตัวเองเพราะอับอายที่ไม่มีลูกหลานทำบุญไปให้ จึงเป็นที่มาของประเพณีแห่ผีสุ่ม เพื่อเตือนใจให้ลูกหลานได้กลับไปทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษ อีกทั้งยังเป็นการสร้างความผูกพัน ความรัก ความสามัคคีของคนในครอบครัวและในชุมชน

           เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นตามหลักพระพุทธศาสนา มาอย่างยาวนานแต่โบราณที่ชาวชัยภูมิ ได้ช่วยกันอนุรักษ์มาได้จนปัจจุบัน จังหวัดชัยภูมิ ได้บรรจุประเพณีนี้ เป็นปฏิทินท่องเที่ยวของจังหวัดเป็นปีที่ 5 เพื่อเป็นการรักษาวัฒนธรรมพื้นบ้านให้สืบทอด ถึงอนุชนรุ่นหลัง และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม  ซึ่งมีให้ชมเพียงแห่งเดียวในโลก ให้เป็นแลนด์มาร์คแห่งใหม่ด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ และของประเทศไทย ที่ถือว่าอีกหนึ่งสุดยอดแหล่งท่องเที่ยวทางประเพณีวัฒนธรรมของไทย มีหนึ่งเดียวในโลก ในหนึ่งปีมีให้ชมเพียงครั้งเดียวได้อย่างต่อเนื่องตลอดไปในครั้งนี้ด้วย///

ชัยภูมิ/ มัฆวาน  วรรณกุล ผู้สื่อข่าวภูมิภาค