ประชุมระดมความคิดเห็นโครงการวิจัย   "การวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1"  

 

 

วันที่ 11 สิงหาคม 2564 เวลา 13.30 น. นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี มอบหมายให้ นายศักดา เกตุแก้ว รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เข้าร่วมประชุมและระดมความคิดเห็น โครงการวิจัย "การวิเคราะห์และจัดทำแนวทางการพัฒนาศักยภาพเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1" ณ ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี โดยมี นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุม พร้อมหัวหน้าสำนักงานจังหวัด พาณิชย์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด กรมทางหลวง โยธาธิการและผังเมืองจังหวัด หอการค้าไทย หอการค้าจังหวัด และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

สำหรับการประชุมและระดมความคิดเห็น โครงการวิจัยดังกล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นการระดมความคิดเห็นในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ 1. จังหวัดอุดรธานี 2. จังหวัดเลย 3. จังหวัดหนองคาย 4. จังหวัดหนองบัวลำภู และ 5. จังหวัดบึงกาฬ  เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตทางด้านการเกษตร ด้านปศุสัตว์ ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านการบริการของกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน1 การขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร การค้าส่งค้าปลีก ตลอดจนการค้าชายแดนระหว่างไทยกับลาว สปป.ลาว ซึ่งในพื้นที่ 5 จังหวัดนี้ มีจุดผ่านแดนถาวร 6 แห่ง และจุดผ่อนปรน 10 แห่ง มีมูลค่าการค้าชายแดนส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากสินค้าส่งออก ได้แก่ รถยนต์ น้ำมัน เหล็ก เชื้อเพลิงอื่นๆ เป็นต้น

นอกจากนี้แล้วยังพบความโดดเด่นในด้านวัฒนธรรมและวิถีชุมชนและการท่องเที่ยว แผนการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ที่มีแนวทางสำคัญประกอบไปด้วย การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเศรษฐกิจในพื้นที่การส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตลุ่มแม่น้ำโขง และรักษาสมดุลทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งนี้การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ให้เป็นเขตพัฒนาพิเศษจะทำให้พื้นที่นี้มีศักยภาพในการยกระดับทางเศรษฐกิจและเชื่อมโยงกับภูมิภาคอื่นในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะ ศึกษา วิเคราะห์ และประเมินนโยบาย ระเบียบ กฎหมายและเงื่อนไขมีผลต่อการจัดตั้งเขตพัฒนาพิเศษโดยการประชุมในครั้งนี้มีกรอบประเด็นหารือ มีทั้งหมด 7 ด้าน ดังนี้ 1. ด้านเศรษฐกิจ 2. ด้านการเกษตร 3. ด้านอุตสาหกรรม 4. ด้านการท่องเที่ยวและการบริการ 5. ด้านสังคมและวัฒนธรรม 6. ด้านโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายโลจิตติกส์ 7. ด้านนโยบายระเบียบกฎหมาย

-----------------------------------------------