สภาผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ - แพลตฟอร์มร่วมถก ผนึกพลังแก้ปัญหาได้ของตกมาตรฐาน - ไม่ปลอดภัย   

       สภาผู้บริโภค หน่วยงานรัฐ - แพลตฟอร์มร่วมถกผนึกพลังแก้ปัญหาได้ของตกมาตรฐาน - ไม่ปลอดภัย

ล้อมกรอบซื้อขายสินค้าออนไลน์ สภาผู้บริโภค หารือ สคบ. อย. สพธอ. ตร.ไซเบอร์ และแพลตฟอร์มออนไลน์ แก้ปัญหาปัญหาซื้อขายสินค้าผ่านออนไลน์ ชงหน่วยงานจดทะเบียนผู้ขายทุกราย ห้ามขายสินค้าผ่านโซเชียลมีเดีย พร้อมตรวจจับ เฝ้าระวังการขายสินค้าผิดกฎหมายหรือสินค้าไม่ได้มาตรฐาน

          วันที่ 9 สิงหาคม 2567 สภาผู้บริโภค โดยอนุกรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป จัดประชุมความร่วมมือการจัดการปัญหาการหลอกลวงซื้อขายสินค้าและบริการบนแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ( สคบ.) สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) รวมถึงผู้แทนจากแพลตฟอร์มออนไลน์ ได้แก่ ลาซาด้า และ TikTok ณ ห้องประชุมเอเปค 2 โรงแรมไอบิส สไตล์ กรุงเทพ รัชดา
          นายอิฐบูรณ์ อ้นวงษา รองเลขาธิการสำนักงานสภาผู้บริโภค กล่าวถึงปัญหาการซื้อขายสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มีผู้บริโภคที่ตกเป็นเหยื่อมากที่สุดของคดีหลอกลวงออนไลน์ จำนวน 296,042 เรื่อง อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 - 31 กรกฎาคม 2567 ส่วนสถิติเรื่องร้องเรียนของ สพธอ. พบปัญหาการซื้อขายสินค้าออนไลน์ กว่า 5,300 เรื่อง ขณะที่เรื่องร้องเรียนของสภาผู้บริโภคมีผู้บริโภคที่ร้องเรียนปัญหาเดียวกันเข้ามาจำนวน 258 เรื่อง โดยกว่าร้อยละ 75 เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊ก รองลงมาคือตลาดออนไลน์ (E - Marketplace) อาทิ ลาซาด้า ช้อปปี้ เป็นต้น 
            “ผู้บริโภคพบปัญหาไม่ได้รับสินค้า ได้รับสินค้าแต่ไม่เป็นไปตามที่สั่งซื้อ สินค้าชำรุดบกพร่อง และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นไม่สามารถติดตามตัวผู้ขายได้ เพราะบนแพลตฟอร์มไม่มีการแสดงข้อมูลผู้ขาย เช่น ชื่อผู้ขาย ชื่อร้าน ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ รวมถึงยังพบปัญหาการขายสินค้าไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้านำเข้าจากต่างประเทศหรือปลั๊กไฟพ่วงที่ไม่ได้มาตรฐาน บางสินค้ายังไม่มีเครื่องหมายมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) ซ้ำยังพบว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจมักไม่รับแจ้งความเมื่อผู้บริโภคพบปัญหาเหล่านี้ ส่วนผู้บริโภคมักไม่ได้ดำเนินการด้านกฎหมายต่อ เนื่องจากไม่สะดวกและมูลค่าความเสียหายจำนวนไม่มาก” 
            นายอิฐบูรณ์ ระบุว่า ช่วงที่ผ่านมาสภาผู้บริโภคให้ความสำคัญกับประเด็นปัญหาความเดือดร้อนของผู้บริโภคติดตามสถานการณ์ปัญหา และจัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและผลักดันให้เกิดนโยบายที่ช่วยคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งการนำเสนอมาตรการหน่วงเงินก่อนโอน (Delayed