นายก ทต.กุดจับ ตามคำสอนพ่อพอเพียงนำร่องกิจกรรม "หนูน้อยปลูกผักสวนครัว" สถานศึกษาในพื้นที่ตำบลกุดจับ
นายก ทต.กุดจับ ตามคำสอนพ่อพอเพียงนำร่องกิจกรรม "หนูน้อยปลูกผักสวนครัว" สถานศึกษาในพื้นที่ตำบลกุดจับ : วันที่ 7 มิ.ย.67 นายบุญสิทธิ์ น้อยพิทักษ์คูณ นายกเทศมนตรีตำบลกุดจับ น้อมนำคำพ่อสอนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำร่องปลูกผักในสถานศึกษาในพื้นที่ตำบลกุดจับ โดยมี นางสาว สุภาพร ชัยประสานศิลป์ ท้องถิ่นอำเภอกุดจับ , นายประธาน ศรีพิกุล ปลัด ฯ, ดาบตำรวจ อัศวิน บัวน้ำอ้อม รองนายกเทศมนตรีตำบลกุดจับ และผู้บริหาสถานศึกษา พร้อมเด็กนักเรียนนักศึกษาร่วมกันปลูกพืชผักสวนครัว
ตั้งอยู่บนพื้นฐานทางสายกลางและความไม่ประมาท โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผส การสร้างภูมิคุ้มกันในตัว ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต การป้องกันให้รอดพันจากวิกฤติและสามารถดำรงอยู่ใด้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง รร.อนุบาลศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลกุดจับจึงน้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าว มาใช้เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน โดยจัดการเรียนรู้บูรณาการเข้ากับกลุ่มสาระการเรียนรู้เน้นเรื่องการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้ใช้ความรู้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ฝึกให้เด็กคิดเป็นทำเป็นอย่างมีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกันส่งเสริมให้เด็กทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น มีวินัย มีสัมมาคารวะ ปลูกฝังจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมสืบสานวัฒนธรรมไทย จัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามความถนัดและความสนใจเพื่อให้นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสามารถอยู่ในโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีความสุข สถานศึกษาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมบูรณาการกิจกรรม "หนูน้อยปลูกผักสวนครัว" เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตามแนวแนวทางการจัดกิจกรรม
เตรียมประสบการณ์บูรณาการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอยู่อย่างพอเพียง ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษาสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงได้อย่างถูกต้อง และให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง
เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงได้อย่างถูกต้อง และให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้กับนักเรียน ครู/บุคลากรทางการศึกษาผู้ปกครอง