ทสจ.ชัยภูมิ ส่งเสริมชาวบ้านสร้างทักษะการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ในโครงการปิดทองหลังพระ   

       ทสจ.ชัยภูมิ ส่งเสริมชาวบ้านสร้างทักษะการเรียนรู้ตามศาสตร์พระราชา ในโครงการปิดทองหลังพระ ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชน ตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (โครงการปิดทองหลังพระ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ตามหลักการยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว 

         ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งมุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการพัฒนา ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน โดยนายอริยะ เชื้อชม ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยภูมิ ได้รับนโยบายพร้อมได้สารต่อดำเนินงานแบบมีส่วนร่วมตามโครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (ปิดทองหลังพระ) มุ่งเน้นการน้อมนำแนวพระราชดำริของรัชกาลที่ ๙ เผยแพร่สู่ชุมชน โดยบูรณาการองค์ความรู้ตามแนวพระราชดำริใน 6 มิติหลัก ได้แก่ มิติด้านการอนุรักษ์น้ำ อนุรักษ์ดิน เกษตรทฤษีใหม่ พลังงานทดแทน ฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ต้องอาศัยกระบวนการความร่วมมือกับองค์กรรัฐ สถาบันวิชาการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประชาสังคมและภาคธุรกิจ รวมทั้งยึดหลักการทรงงานเป็นแนวทางหลักในการดำเนินโครงการฯ ตลอดจนพิจารณาความสอดคล้องกับปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อให้เกิดการพัฒนาชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม โดยจะเป็นการดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนาองค์ความรู้และนำองค์ความรู้ไปสู่การพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน
 

         ซึ่งได้มอบหมายให้นายนายอาทิตย์  เวชกามา เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ชัยภูมิ พร้อม จนท.สำนักงาน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยภูมิ นำเครือข่ายราษฎรชาวบ้าน ต.หนองบัวแดง อ.หนองบัวแดง กว่า4 หมู่บ้าน เข้าร่วมอบรมสร้างความรู้ความเข้าใจตามโครงการปิดทองหลังพระ ในห้องเรียนท่ามกลางต้นไม้ท่ามกลางธรรมชาติที่แสนร่มรื่น ณ บ้านสวนอาจารย์ดารา บ.ลาดเหนือ ม.4 ต.หนองบัวแดง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ ขณะที่นายนายอาทิตย์  เวชกามา เจ้าพนักงานป่าไม้อาวุโส สนง.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ชัยภูมิ เปิดเผยว่าโครงการ
สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยภูมิ ได้ดำเนินตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (โครงการปิดทองหลังพระ) มาอย่างต่อเนื่อง โดยจัดฝึกอบรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพระราชดำริ รวมทั้งจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ และให้องค์ความรู้ด้านการพัฒนาอาชีพ สร้างรายได้ และพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวพระราชดำริ เพื่อลดการพึ่งพาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า และเพื่อป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่นำร่อง 3 หมูบ้าน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ขยายผลเพิ่มอีก 3 หมู่บ้าน ในท้องที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ

          ต่อมาในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเครือข่ายศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาบุคคลต้นแบบและจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ในพื้นที่เป้าหมาย 5 หมู่บ้าน ในเขตท้องที่อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งสามารถสร้างบุคคลต้นแบบด้านการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง จำนวน 11 คน และจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียง ได้จำนวน 11 ศูนย์
แต่อย่างไรก็ตาม จากการประเมินผลการดำเนินงานโครงการฯ ที่ผ่านมา พบว่า กลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชนและผู้สูงอายุ ทำให้กระบวนการเรียนรู้และพัฒนาต่อยอดแนวพระราชดำริ รวมทั้งการต่อยอด้านการพัฒนาอาชีพ และขยายผลค่อนข้างเป็นไปได้ช้า และมีข้อจำกัดด้านการใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้น ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชัยภูมิ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาเครือข่ายเยาวชนภูมิใจในแผ่นดินสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ภายใต้โครงการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมชุมชนตามแผนพัฒนาชนบทเชิงพื้นที่ประยุกต์ตามแนวพระราชดำริ (โครงการปิดทองหลังพระ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตตามแนวทางพระราชดำริ ให้กับกลุ่มเยาวชนและประชาชนในพื้นที่เป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 15 – 50 ปี รวมทั้งส่งเสริมพัฒนาศักยภาพกลุ่มเป้าหมายให้สามารถนำองค์ความรู้ เทคโนโลยีสมัยใหม่ และภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการสร้างรายได้ พร้อมกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นอย่างสมดุลและยั่งยืน โดยใช้ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาและนวัตกรรมเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอดกิจกรรมอีกด้วย///

มัฆวาน  วรรณกุล ผู้สื่อข่าวภูมิภาคชัยภูมิ




หวยเด็ดงวดนี้
เรื่องอื่นๆในหมวด