คืบหน้างานมหกรรมพืชสวนโลก จ.อุดรธานี พ.ศ.2569
วันที่ 14 มี.ค. 2567 เวลา 09.30 น. นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี เปิดเผยถึงความคืบหน้างานมหกรรมพืชสวนโลก จ.อุดรธานี พ.ศ.2569 ณ ห้องประชุม อบต.กุดสระ อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี ว่า “อบจ.เกี่ยวข้องกับมหกรรมพืชสวนโลกอย่างไร ก็เรียนท่านอย่างนี้ครับ อบจ.เกี่ยวข้องตั้งแต่คิดทำโครงการขึ้นมา ทำเอกสาร ทำอะไรต่าง ๆ รวมทั้งใช้งบส่วนตัว ทั้งใช้งบราชการทำ ทำ IEE แต่ว่าหนองแดเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำท้องถิ่น ไม่จำเป็นต้องทำถึง IEA ก็ทำแค่ IEE เราใช้งบประมาณจ้างมหาวิทยาลัยราชภัฎ 1 ล้านบาทเท่านั้นเอง เราเตรียมการนำเสนอกับ TCEP เราเตรียมการนำเสนอกับ AIPH แล้วก็ต่อสู้กันที่ดูไบ เขาเรียกว่าไปบิท อบจ.ก็ไปมีบทบาทไปมีส่วนร่วมด้วย แต่พอโครงการเดินมาถึงการจัดซื้อจัดจ้าง การออกแบบ ต่าง ๆ อบจ.ก็ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแล้ว และงบประมาณ 2,500 ล้านบาท ไม่ได้เกี่ยวข้อง ไม่ได้มาที่ อบจ.แม้นแต่บาทเดียว อันนี้เรียนให้ทราบเลย อบจ.เป็นฝ่ายเสีย เป็นฝ่ายสนับสนุน เป็นฝ่ายทำให้มันเกิด”
นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวต่อไปว่า “เพราะว่า เราต้องทำงานเชิงรุก เพื่อให้พี่น้องประชาชนเราได้รับประโยชน์สูงสุด ในด้านเศรษฐกิจด้วย และก็เรื่องท่องเที่ยวด้วย และเราก็ได้ร่วมกับจังหวัด ร่วมกับกรมวิชาการเกษตร และร่วมกับคณะรัฐมนตรี ได้ดำเนินการไปถึงขั้น ท่านนายกใช้งบกลาง สมัยพล.อ.ประยุทธ์ใช้งบกลางจ้างออกแบบ Master Plan ก็คือออกแบบผังแม่บทให้เป็นเงิน 55 ล้านบาท แล้วก็ ผมก็เป็นกรรมการกำหนด TOR และมีรองศักดาเป็นกรรมการคัดเลือก ก็ไดบริษัทหนึ่งเป็นผู้รับจ้างออกแบบผังแม่บทโดย แบ่งเป็น 5 งวด ๆ ละ 11 ล้านบาท ค่างวดรวม 55 ล้านบาท ใช้งบกลางของปี 2566 ทีนี้ทางจังหวัดก็ตั้งท่านรองสุรศักดิ์ อักษรกุล รอง ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานคณะกรรมการตรวจรับงาน ทีนี้ บริษัทก็ส่ง 2 งวด งวดที่ 1 งวดที่ 2 ก็เบิกเงินไป 22 ล้านบาทแล้ว งวดที่ 3 ก็ส่งมาแล้วแต่ว่าพ้นวันที่ 30 ก.ย.2566 เงินงบประมาณก็ตกไป ขณะนี้ทางรัฐบาลก็ตั้งงบประมาณปี 2567 ให้ แต่ว่างบประมาณปี 2567 จะเริ่มใช้ในเดือน พ.ค. ผู้รับจ้างก็ยังไม่ได้เงินงวดที่ 3 เพราะยังเบิกเงินไม่ได้ หมายความว่า งวดที่ 3,4 และ 5 จะต้องเบิกภายในปีงบประมาณ 2567 นี้ เสร็จแล้วงบประมาณปี 2567 ที่อนุมัติมาแล้ว 109 ล้านคืองบที่มาปรับปรุง มาเตรียมพื้นที่ โดยให้ ผวจ.เป็นผู้จัดหาผู้รับจ้าง ท่านผวจ.กำลังดำเนินการอยู่... น่าจะส่งให้ผู้ว่าได้ในสิ้นเดือนนี้ ก็คือจัดหาผู้ที่มาปรับพื้นที่ในวงเงิน 109 ล้านบาท แต่ว่าเงินก็ยังไม่มา เงินจะมา 1 พ.ค.นี้ แต่ว่าระเบียบครม. ระเบียบกรมบัญชีกลาง เขาให้หาผู้จัดซื้อจัดจ้างล่วงหน้าได้ ท่านผวจ.ก็จะรีบหาผู้จัดซื้อจัดจ้างไว้ งบประมาณก็จะมา ก็จะปรับพื้นที่ให้เสร็จโดยเร็ว ก็จะลงพืชลงอะไรได้ ขั้นตอนก็จะอยู่ประมาณนี้ ”
นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวต่อไปว่า “งบในปี 2567 ที่จะได้มาอีกงบก็คือ งบประชาสัมพันธ์ ที่จังหวัดจะได้มา จำนวน 1,840,000 บาท นอกนั้นเป็นเรื่องของกรมวิชาการเกษตรเป็นผู้จ้าง เป็นผู้หาผู้รับจ้าง เช่น หาผู้รับจ้างปลูกพืช ปลูกต้นไม้ หาผู้รับจ้างเรื่องการก่อสร้างอาคาร ซึ่งกรมวิชาการเกษตรก็กำลังจะประกาศหาผู้รับจ้าง อันนี้เป็นเรื่องของกรม อาคารที่พูดถีงนี้เป็นอาคารรูปไซ (ไซมอง) ใหญ่ ๆ อาคารนี้สามารถแข่งขันวอลเล่ย์บอลชิงแชมป์โลกได้ แข่งขันตะกร้อชิงแชมป์โลกคิงส์คัพได้ จัดประอยู่ในระดับนานาชาติได้ งานอีเว้นต่าง ๆได้ จัดงานมอเตอร์โชว์ได้ งาน exhibition ได้ ก็ใหญ่พอสมควร อีกด้านก็มีอาคารเฉลิมพระเกียรติ ก็จ้างพร้อมกันโดยกรมวิชาการเกษตร อีกด้านก็มีหมู่บ้านอีสานซึ่งอยู่ใกล้ๆไซ ลานที่มีก็ใช้ร่วมกัน เป็นลานแสดงศิลปวัฒนธรรมของพื้นถิ่น”
นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวต่อไปว่า “ในช่วง 134 วัน คือช่วง 1 พ.ย.2569 – 14 มี.ค.2570 วันที่ 1 พ.ย.2569 เป็นวันเริ่มต้น เป็นวันพิธีเปิด ก็จะมีกิจกรรมแสง สี เสียง ก็จะมีการแสดงศิลปะวัฒนธรรมของพี่น้องประชาชน เป็นคนในพื้นที่ เราจะให้ มรภ.อุดรธานี เข้ามาประชุมวางแผนคัดเลือกเอาประชาชนคนในพื้นที่ ต.กุดสระเข้ามาแสดง และใน 134 วันเราจะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมพื้นถิ่นของภาคอีสานทุกวัน และก็จะให้ประชาชนในพื้นที่ของเราหมุนเวียนเปลี่ยนกันแสดง อาทิ อาจจะเป็นการแสดงแห่ผะเหวดบ้านนี้ อาจจะเป็นการแห่บุญบั้งไฟของบ้านดอนหวาย หรืออาจจะเป็นบ้านโคกก่อง การแสดงหมอลำเรื่อง หมอลำกลอน อะไรต่าง ๆ พวกเราก็จะมีรายได้ อันนี้ผมรวบรัดให้ฟังก่อน ส่วนในการก่อสร้าง ในหลักการเราจะใช้คนในพื้นถิ่นทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นหัวหน้าช่างไม้ ช่างปูน หรือผู้ใช้แรงงานทั้งหลายที่ประสงค์จะเข้าร่วมในการทำงานช่วงก่อสร้าง แล้วก็ประชาชนในพื้นที่ ต.กุดสระก็จะมีสิทธิ์พิเศษในการเข้าชมงาน คนไทยก็ราคานึง คนต่างชาติก็อีกราคา พี่น้องชาวอุดรก็อีกราคานึง เราก็จะนำเข้าที่ประชุมอีกทีนึง หรือมีบัตรติดหน้าอกให้เข้าชมงาน ให้ท่านนายก อบต.กุดสระทำบัตรติดหน้าอกก็ได้ ก็ไม่ต้องจ่ายค่าบัตรผ่านประตู สิ่งที่เราจะได้จากค่าบัตรผ่านประตู จากประสบการณ์ที่เชียงใหม่มีผู้เข้าชมงาน 4 หมื่นกว่าคน ของเรา 3 หมื่นกว่าคน ท่านคิดดูว่า ถ้าเรากินน้ำ วันนึงอย่างต่ำ 3 ขวด แล้วนักท่องเที่ยว 3 หมื่นคน ก็ 9 หมื่นขวด ท่านต้องหาน้ำมาขายให้นักท่องเที่ยวให้ได้ แล้วก็ข้าวกล่อง ท่านต้องหามาขายให้ได้ อาหารต่าง ๆ วัตถุดิบต่าง ๆท่านต้องเตรียมต้องหา ในเมืองก็คงเต็มไปหมด ถ้าทำไม่ทันก็ส่งวัตถุดิบเข้าไป สารพัดอย่าง.......ท่านรองประธานหอการค้าท่านก็มาท่านจะรู้ดี ท่านประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดก็มา ท่านอยู่ในคณะกรรมการทุกคณะเลย ท่านทราบดี....นักท่องเที่ยวที่มาเข้ามาชมพืชสวนโลกของเรา เขามาเขาก็ไปหลายที่ ออกมากางเต้น พักโฮมสเตย์ท่าน ไปวัดป่าภูก้อน มาวัดบ้านดงหนองตาล ทางอบจ.ก็จะเข้าไปทำคอนกรีตให้ ตอนนี้ยังเป็นลูกรังอยู่ ก็จะทำให้สวยงาม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยว ไปนาข่า และไปทั่วทั้งจังหวัด เศรษฐกิจก็จะกระเตื้องขึ้น ไม่ใช่ว่าคนในเมืองจะได้ฝ่ายเดียว คนนอกเมืองก็ได้เช่นกัน ....ครั้งนึงท่านอดีตผู้ว่า ฯเชียงใหม่ ท่านมากับท่านสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ท่านมา 2 ครั้ง ครั้งนั้นท่านก็พูดกับผมบนรถ ...ท่านพูดไว้ว่า ท่านนายกเชื่อมั้ย ต่อไป เงินจะตกใส่หลังคาบ้านทุกหลังคาเลย แล้วสอดคล้องกับท่านผู้คับการตำรวจภูธรอุดรธานีขณะนั้น ซึ่งตอนนี้ท่านไปเป็นผู้การแล้ว ท่านบอกว่ารายได้ในจังหวัดช่วงนั้นดีมากเลยครับ ซึ่งเขาจัด 60 วันเองนะ ของเรานี่จัด 134 วันเลยนะ ที่เราจัดแบบนี้เพราะอุดรของเราครบ 134 ปีของจังหวัดอุดรธานี ..... นี่คือความเคลื่อนไหวคร่าว ๆ และก็อีกเรื่อง ล่าสุด อบจ.ส่งรองนายก 2 คน คือ รองสุชัมบดี ขาวขำ และรองศักดา เกตุแก้ว ได้รายงานต่อ AIPH ที่โดฮาการ์ต้า เพื่อไปรายงานความคืบหน้าร่วมกับจังหวัด อีกเรื่องที่เป็นประเด็นก็คือที่โคราช บางคนว่าไม่จัดที่อุดรแล้วเหรอ ของโคราชจัดปี 2572 ของเราจัดปี 2569 ของเขาระดับ A ขนาดใหญ่ ของเรา ระดับ B ของเราใช้งบแค่ 2,500 ล้านบาท ไม่เกี่ยวกับ อบจ.อุดร อบจ.ไม่ได้ใช้แม้นแต่บาทเดียว มาถึงวันนี้ผมหมดเงินส่วนตัวไปเยอะเหมือนกัน .....ไปสู้จน TCEP เขาบอกว่าอุดรธานีของเราพร้อมมาก เอกสารของเราก็ทำด้วย มรภ.อุดรก็มาช่วยด้วย หอการค้าก็มาช่วยทำด้วย และอีกหลายแห่ง ทาง TCEP เขาเห็นความตั้งใจของอุดรธานี เสนอเข้าครม. และเสนอไปต่อที่ AIPH ผลปรากฎว่า เราก็ได้มา ฝากเรียนพี่น้องประชาชนใน ต.กุดสระ และตำบลใกล้เคียงว่า ทุกสิ่งทุกอย่างจะทำให้พี่น้องประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด และหลังจากเสร็จงาน 134 วัน ทางคณะกรรมการจังหวัดโดย ผวจ. มีแผนหลังการจัดงาน คือ อบจ.ร่วมกับ อบต.กุดสระ เทศบาลนาข่า อบต.นาข่า เทศบาลหนองสำโรง อบต.หมูม่น เทศบาลนคร จะช่วยกันดูแล ต่อไป ให้เป็นสวนสาธารณะที่สวยงาม เหมาะแก่การออกกำลังกาย และเป็นสวนสาธารณะใจกลางเมืองในอนาคตต่อไป...”
--------------------------------------