แห่กลางวัน นครสวรรค์ปิดเมือง ตีกลองปบ่อยขบวนแห่ เปิดงานสืบสานงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากน้ำโพ 108 ปี ในงานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2567
แห่กลางวัน นครสวรรค์ปิดเมือง ตีกลองปบ่อยขบวนแห่ เปิดงานสืบสานงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ปากน้ำโพ 108 ปี ในงานตรุษจีนปากน้ำโพ ประจำปี 2567
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 05.45 น. ที่บริเวณซุ้มประตูเมื่องสี่แยกสะพานเดชาติวงศ์ นายทวี เสริมภักดีกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมคณะลั่นกล่องชัยเปิดขบวนแห่กลางวัน(ชิวสี่) โดยมีนางวราภรณ์ เสริมภักดีกุล นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครสวรรค์ พร้อมด้วยคุณนภาพร ไกรพฤกษะวัน ประธานฯ เถ่านั้ง 108 ปี พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายบดินทร์ เกษมศานติ์ นายประสงค์ หล้าอ่อน รองผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกันตีกล่องชัยเปิดขบวนแห่กลางวัน(ชิวสี่) เนื่องในงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ 2567 มีหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนผู้ที่มีจิตศรัทธา เข้าร่วมพิธีฯจำนวนมาก ขบวนแห่กบางวันงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพ(ขบวนแห่กลางวัน) ซิวสี่ ซึ่งเป็นหนึ่งในวันที่ สำคัญที่สุดของงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพในทุกๆปี สิ่งที่อยู่คู่กับงานประเพณีแห่เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ปากน้ำโพมาอย่างยาวนานนั่นก็คือการตั้งโต๊ะรับเจ้า ของบริษัท ห้าง ร้าน และบ้านเรือนต่างๆ พ่อค้า แม่ค้า ที่ตั้งอยู่ริม 2 ฝั่งถนนสวรรค์วิถี โกสีย์ และถนนทั่วตลาดปากน้ำโพ เพื่อเป็นการรับเจ้า และอัญเชิญเทพเจ้ามาอำนวยชัยให้พรแก่ครอบครัวและวงศ์ตระกูล ให้มีแต่ความมั่งมีศรีสุข
การตั้งโต๊ะรับเจ้า ถือว่าเป็นหนึ่งในธรรมเนียมปฏิบัติที่ถูกส่งต่อมาจากรุ่นสู่รุ่น จากอดีตมาจนถึงปัจจุบัน เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล ความเจริญก้าวหน้า ในด้านการค้า มีการเคารพกราบไหว้องค์เทพเจ้าต่างๆที่มาให้พร ตามร้านค้า ซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวเมืองปากน้ำโพ นอกจากนี้ยังถือว่าเป็นขบวนแห่ที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เริ่มจากขบวนเทิดพระเกียรติฯ ขบวนนางฟ้าจากโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่าง ๆ การแสดงคณะมังกรทอง การแสดงสิงโต 5 ชาติพันธุ์ เด็กรำถ้วยไหหนำ เอ็งกอ-พะบู๊ องค์สมมติเจ้าแม่กวนอิม และลูกศิษย์ กิมท้ง-เง็กนึ่ง และขบวนมังกรทอง ที่มีการตีกลอง พร้อมเครื่องดนตรีที่มีเสียงดังในจังหวะที่เร้าใจดังไปทั่วตลาดปากน้ำโพตั้งแต่เช้าจรดเย็น
////
ชาติชาย เกียรติพิริยะ/นครสวรรค์