ดนตรีพลังบวกวงปล่อยแก่ รับสมัครผู้ร่วมโครงการดนตรีพลังบวก “วงปล่อยแก่” วงขับร้องประสานเสียง “ปล่อยแก่ เมืองปากน้ำโพ” ภด้ออกกำลังกาย มีเพื่อน ร้องเพลง   

        ดนตรีพลังบวกวงปล่อยแก่  รับสมัครผู้ร่วมโครงการดนตรีพลังบวก “วงปล่อยแก่” วงขับร้องประสานเสียง “ปล่อยแก่ เมืองปากน้ำโพ” ภด้ออกกำลังกาย มีเพื่อน ร้องเพลง

        รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เปิดเผยว่า ด้วยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ มูลนิธิตลาดทรัพย์แห่งประเทศไทย มูลนิธิอาจารย์สุกรี เจริญสุข คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และเทศบาลนครนครสวรรค์  ขอเชิญชวนพ่อแม่พี่น้องผู้สูงอายุจังหวัดนครสวรรค์เข้าร่วมโครงการ "ดนตรีพลังบวกฯ"
ซึ่งมีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับผู้สูงอายุที่เข้าโครงการ รวมถึงชุมชน สังคม สิ่งแวดล้อมที่อยู่โดยรอบ
2. เพื่อสร้างความภูมิใจในอัตลักษณ์วัฒนธรรมของชุมชนที่อาศัยอยู่ ด้านการพัฒนาผู้สูงอายุ
          
         สืบเนื่องจากสังคมไทยกำลังประสบปัญหาเรื่องผู้สูงอายุ ทั้งในด้านจำนวน การจัดการด้านความเป็นอยู่ของผู้อายุไม่ให้เป็นภาระ เมื่อ 40-50 ปีก่อน บ้านไหนมีคนแก่ (ผู้สูงอายุ) ประหนึ่งมีทรัพย์สมบัติอันล้ำค่า ลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง ผู้คนล้อมหน้าล้อมหลัง แต่ในสภาพปัจจุบัน บ้านไหนมีคนแก่ คนแก่ได้กลายเป็นภาระของครอบครัว คนแก่ถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยว คนแก่เหงาไม่มีลูกหลานอยู่ใกล้   ซึ่งแต่ก่อนเมื่อได้พบผู้สูงอายุ ประดุจได้พบผู้มีบุญ สามารถกราบไหว้ผู้สูงอายุอย่างได้ดุจไหว้พระ แต่ในปัจจุบันนั้น ผู้สูงอายุเป็นภาระในการเลี้ยงดู ไม่มีใครดูแลไม่มีใครเอาใจใส่ ปล่อยให้อยู่อย่างยถากรรม สังคมรุ่นใหม่กับสังคมผู้สูงอายุ มีบริบททางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากปัจจุบัน สังคมที่ได้เปลี่ยนรุ่นไปแล้ว ความรู้ของผู้สูงอายุ ประสบการณ์ของผู้สูงอายุ วิสัยทัศน์ของผู้สูงอายุ ใช้ไม่ได้วิถีชีวิตสมัยใหม่อีกต่อไป ผู้สูงอายุยังเชื่อประสบการณ์เก่า พรรคพวกเพื่อนพ้องและการสะสม ในขณะที่คนรุ่นใหม่ เชื่อถือและเชื่อมั่นความสามารถ มีชีวิตที่ช่วยตัวเองและไม่สะสม ด้วยวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน ทำให้ผู้สูงอายุหมดความหมายและหมดความสำคัญลง
    

        การทำวงขับร้องประสานเสียง “ปล่อยแก่” สำหรับจังหวัดนครสรรค์ คือ “วงปล่อยแก่เมืองปากน้ำโพ” จะช่วยให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายในการร้องเพลง ได้แต่งตัว ได้เข้าสังคม มีเพื่อนคุยแก้เหงา มีภาระต้องฝึกซ้อม ต้องรับผิดชอบ บทเพลงจะช่วยให้รักษาความจำ รักษาโรคเหงา รักษาโรคขี้ลืม โรคหลง หรือโรคซึมเศร้า บทเพลงและดนตรีของผู้สูงอายุเป็นอีกมิติหนึ่งของสังคม ผู้สูงอายุร้องเพลงและฟังดนตรีในยุคของผู้สูงอายุและจดจำเพลงแม่นยำ ในขณะที่คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักเพลงเหล่านั้น 

ดังนั้นการจัดสังคมของผู้สูงอายุไว้ด้วยกันโดยอาศัยเพลงและดนตรีเป็นตัวเชื่อมสังคมดนตรีช่วยผู้สูงอายุอย่างไรบ้าง คือ
1. ดนตรีทำให้ผู้สูงอายุมีเพื่อน มีสังคม ลดความเหงา เห็นคุณค่าของตนเอง
2. ดนตรีลดภาระการดูแลของครอบครัว เพลงจะช่วยให้ผู้สูงอายุมีเพื่อน บทเพลงจะช่วยให้รักษาความจำ รักษาโรคเหงา รักษาโรคหลง หรือโรคซึมเศร้า
3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมโครงการสามารถเป็นกลุ่มตัวอย่างให้กับผู้สูงอายุกลุ่มอื่น ในเรื่องของคุณค่าของผู้สูงอายุ แก่แล้ว ไม่แก่เลย สามารถทำประโยชน์ให้กับลูกหลาน และสังคมได้
เงื่อนไขในการรับสมัคร
4. เป็นผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปี ขึ้นไป
5. เป็นผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง สามารถเดินทางเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมได้อย่างสม่ำเสมอ
6. ป็นผู้ที่มีทัศนคติที่ดีต่อการขับร้องเพลง

ท่านใดมีความสนใจเข้ารับสมัคร "วงปล่อยแก่ เมืองปากน้ำโพ" ซีซั่น 2 พื้นที่สาธารณะสำหรับการเรียนรู้ พื้นที่แห่งความสุข ของผู้สูงอายุเมืองปากน้ำโพ 
ขอเรียนเชิญผู้สูงวัยตั้งแต่อายุ 55 ปีขึ้นไปมาร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมดีๆกับพวกเรา เริ่มรับสมัครตั้งแต่วัน 1 - 21 กุมภาพันธ์ 2567(รอลิ้งค์ใบสมัคร)
รอบ Audition วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาราชภัฏนครสวรรค์สมัครได้ที่ลิ้งนี้ : https://forms.gle/kU8Dnkc8hwzygB3h7 หรือ โทร 083-9552999 รศ.ดร.สุชาติ แสงทอง
////
ชาติชาย เกียรติพิริยะ/นครสวรรค์