โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยยางอำเภอวิเชียรบุรี
โครงการศึกษาความเหมาะสมและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยยางอำเภอวิเชียรบุรี
วันที่ 22 ธันวาคม 2566 ณ หอประชุมอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ นายชัยสิทธิ์ ชัยสัมฤทธิ์ผล ปลัดจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธาน เปิดโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยยางอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเพชรบูรณ์ ภายใต้โครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น ครั้งที่ 1 โดยมีนายเกื้อศักดิ์ ทาทอง วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ ผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วยนายวิทยา รัตนมณี ปลัดอาวุโสอำเภอวิเชียรบุรี กล่าวต้อนรับ มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการในระดับภูมิภาค จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน สถาบันการศึกษาศาสนสถาน ประชาชนในพื้นที่ศึกษาโครงการ สื่อมวลชน ตลอดจนประชาชนผู้ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 200 คน ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อโครงการฯ และให้การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำห้วยยาง เป็นไปด้วยความถูกต้องตามหลักวิชาการและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ
ซึ่งจากปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักจังหวัดเพชรบูรณ์ และปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประกอบกับที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทาน พระราชดำริ เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ว่า "ควรพิจารณาวางโครงการ เก็บกักน้ำตอนบนของลำน้ำสาขาแม่น้ำป่าสัก เพื่อใช้ด้านการเกษตรและป้องกันอุทกภัย เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณมากและให้พิจารณาจัดเก็บให้เหมาะสม" กรมชลประทาน จึงมีแผนพัฒนาโครงการแหล่งน้ำขนาดกลางเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์รวม 19 โครงการ โดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยยาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอวิเชียรบุรี และอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำยา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นโครงการในแผนดังกล่าว โดยมอบหมายให้ บริษัทสามารถ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงาน 540 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2568 ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะในฤดูแล้งซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี และเพื่อบรรเทาอุทกภัย ชะลอน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากอีกด้วย
ซึ่งจากปัญหาการขาดแคลนน้ำและภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักจังหวัดเพชรบูรณ์ และปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ลุ่มน้ำป่าสักเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ประกอบกับที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 ได้พระราชทาน พระราชดำริ เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ว่า "ควรพิจารณาวางโครงการ เก็บกักน้ำตอนบนของลำน้ำสาขาแม่น้ำป่าสัก เพื่อใช้ด้านการเกษตรและป้องกันอุทกภัย เนื่องจากน้ำเหนือเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณมากและให้พิจารณาจัดเก็บให้เหมาะสม" กรมชลประทาน จึงมีแผนพัฒนาโครงการแหล่งน้ำขนาดกลางเหนือเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์รวม 19 โครงการ โดยมีอ่างเก็บน้ำห้วยยาง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอวิเชียรบุรี และอ่างเก็บน้ำห้วยน้ำยา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นโครงการในแผนดังกล่าว โดยมอบหมายให้ บริษัทสามารถ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนส์ จำกัด และบริษัท ปัญญา คอนซัลแตนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงาน 540 วัน เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2566 ถึงเดือนเมษายน 2568 ทั้งนี้เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและการเกษตร โดยเฉพาะในฤดูแล้งซึ่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเป็นประจำทุกปี และเพื่อบรรเทาอุทกภัย ชะลอน้ำในช่วงฤดูน้ำหลากอีกด้วย