สทบ. เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยโมเดลใหม่ BCG สู่ความมั่นคั่ง ยั่งยืนสนับสนุนเกษตรกรสร้างอาชีพจากโครงการ "โคล้านครอบครัว"   

         สทบ. เดินหน้าพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยโมเดลใหม่ BCG สู่ความมั่นคั่ง ยั่งยืนสนับสนุนเกษตรกรสร้างอาชีพจากโครงการ "โคล้านครอบครัว"
          วันนี้ 7 กรกฏาคม 2566 ณ หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นายธัชชญาณ์ณัชเจียรธนัทกานนท์ เลขานุการรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้รับมอบหมายจาก นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรัฐมนตรีที่กำกับดูแลสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เป็นประธานในพิธีเปิดงาน "สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง" ภายใด้โครงการเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยมีนางคณิตา ราษฎร์นุ้ย รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายเบญจพล นาคประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายชนะศักดิ์ อัตถาวงศ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้แทนส่วนราชการ ผู้บริหารส่วนท้องถิ่น สมาชิกกองทุนฯ เข้าร่วมงาน   นายธัชชญาณ์ณัชฯ กล่าวว่า รัฐบาลขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG ให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยเฉพาะภาคเกษตร-ปศุสัตว์ ปรับเปลี่ยนระบบสู่การพัฒนาให้มีประสิทธิภาพสูง มาตรฐานสูง และมูลค่าสูง สู่การเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างสมดุล มีคุณภาพ และยั่งยืน สอดรับกับหลักการของปรัชญาเศรษฐกิจต้องการให้ประชาชนมีอาชีพ สร้างรายได้ มีความกินดี อยู่ดี เมื่อเศรษฐกิจฐานรากมีความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เศรษฐกิจของประเทศก็จะมีความมั่นคง มั่งคั่ง ขยับขึ้นสู่ประเทศที่มีรายได้สูงขึ้นตามลำดับ ดำเนินงานผ่านโครงการ "โคล้านครอบครัว" สำหรับการเลี้ยงโค เกษตรกรสามารถสร้างแบรนด์สินค้าด้วย อัตลักษณ์และวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยนำมาปรับประยุกใช้ในการสร้างคุณค่า (Value creation) จากทรัพยากรที่มี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สูงขึ้นได้ การผลิตสินค้าเกษตรพรีเมียม เกษตรปลอดภัย เพิ่มความหลากหลายของชนิดสินค้า ยกระดับคุณภาพ ความ ปลอดภัยและมาตรฐานของอาหารท้องถิ่นจะช่วยสร้างจุดแข็งที่แตกต่างกันในตลาดขึ้นได้ ซึ่งโคถือเป็นอีกหนึ่งสัตว์เศรษฐกิจ ที่ยังมีความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศรองรับเสมอสำหรับการจัดงาน "สร้างเศรษฐกิจฐานราก สร้างชาติมั่นคง" ครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงานครั้งที่ 13 ซึ่งบรรยากาศในงานมีสมาชิกกองทุนหมู่บ้าน ฯ ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักในพื้นที่ รับผิดชอบ 6 จังหวัด ได้แก่ เลย,
สกรนคร, หนองคาย, หนองบัวลำภู, อุดรธานี และบึงกาฬ เข้าร่วมกิจกรรมเพิ่มทักษะจากผู้เชี่ยวชาญ
การบริหารจัดการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองสู่ความสำเร็จเข้มแข็งอย่างยั่งยืน, โครงการโคล้านครอบครัว มีเสวนาที่น่าสนใจจากชาวฝรั่งศสที่แต่งงานกับหญิงไทย แล้วกลับมาอยู่ที่ไทย 10 ปี ด้วยการประกอบอาชีพเลี้ยงโคขุน จำนวน 40 ตัว, การดำเนินงานกองทุนหมู่บัานตามโมเดลเศรษฐกิจ BCG, เสวนากองทุนหมู่บ้านต้นแบบ "ทำแล้ว
ทำง่าย ทำได้...ไม่ยาก" โดยกองทุนหมู่บ้านนาพูนทรัพย์ หมู่ที่ 14 ตำบลบ้านธาตุ อำเภอเพ็ญ จังหวัดอุดรธานี , การ
เนินงานโครงการสินเชื่อสร้างไทย, การจัดสวัสติการสำหรับสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือ Business Matching และกิจกรรมการจัดแสดงนิทศการเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนอีกด้วย