ร้อยเอ็ด- สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปี 2566 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
ร้อยเอ็ด- สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ปี 2566
วันที่ 30 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด นายประเสริฐ วรสาร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 เป็นประธานเปิดโครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” ปี 2566 โดยมีคณะผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครูปฐมวัยและบุคลากรทางการศึกษา เข้าร่วมกิจกรรม นายปริญญา นวลรักษา รองผอ.สพป.ร้อยเอ็ดเขต 1 กล่าวว่า โครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ได้ดำเนินโครงการมา
ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่นที่ 1-9 ทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนในโครงการ และแต่ละปีการศึกษามีการอบรมเฉพาะทาง ซึ่งในปีนี้ป็นหัวข้อ "กิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ทักษะเชื่อม
สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ESD)" โดยผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น ทำหน้าที่ขับเคลื่อน ขยายผลเพื่อให้ครู
สามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ ให้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องตามแนวทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เพื่อปลูกจิตสำนึก การ
พัฒนาที่ยั่งยืนต่อโลกตั้งแต่วัยเยาว์ เด็กรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบนโลก โดยเน้นการจัดประสบการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กปฐมวัยกับโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เด็กเห็น
และเข้าใจปัญหา และแสดงบทบาทในฐานะสมาชิกใบหนึ่งของโลกใบนี้ได้ จึงได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ ทั้งระบบออนไซต์ (Onsite) และออนไลน์ (Online) เพื่อให้ครูปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก ความรู้ทักษะเชื่อมโยง สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับเด็กปฐมวัย ได้พระราชทานในปีการศึกษา 2566
ตั้งแต่ ปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่นที่ 1-9 ทุกโรงเรียนเป็นโรงเรียนในโครงการ และแต่ละปีการศึกษามีการอบรมเฉพาะทาง ซึ่งในปีนี้ป็นหัวข้อ "กิจกรรมสร้างความตระหนักและความรู้ทักษะเชื่อม
สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน(ESD)" โดยผู้นำเครือข่ายท้องถิ่นและวิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น ทำหน้าที่ขับเคลื่อน ขยายผลเพื่อให้ครู
สามารถนำความรู้ ความเข้าใจที่ได้รับไปจัดประสบการณ์ ให้กับเด็กปฐมวัยได้ถูกต้องตามแนวทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืนของโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย เพื่อปลูกจิตสำนึก การ
พัฒนาที่ยั่งยืนต่อโลกตั้งแต่วัยเยาว์ เด็กรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วบนโลก โดยเน้นการจัดประสบการณ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กปฐมวัยกับโลกและสิ่งแวดล้อมรอบตัวให้เด็กเห็น
และเข้าใจปัญหา และแสดงบทบาทในฐานะสมาชิกใบหนึ่งของโลกใบนี้ได้ จึงได้ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติ ทั้งระบบออนไซต์ (Onsite) และออนไลน์ (Online) เพื่อให้ครูปฐมวัย มีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดกิจกรรมสร้างความตระหนัก ความรู้ทักษะเชื่อมโยง สังคม สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวทางการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับเด็กปฐมวัย ได้พระราชทานในปีการศึกษา 2566
นายประเสริฐ วรสาร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1 กล่าวว่า โครงการ "บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย” เป็นโครงการที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร่วมเป็นเครือข่ายกับโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ซึ่งมีมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดทำโครงการนี้ขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีเป้าหมาย ในการปลูกฝังให้เด็ก ๆ มีเจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์ ธรรมชาติ และเทคโนโลยี ด้วยกิจกรรมที่สร้างความสนุก ความเพลิดเพลิน ความสนใจใคร่รู้และความกระตือรือ รู้จักตั้งคำถามและหาคำตอบด้วยตนเอง ตลอดจนเพื่อให้เด็กได้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอย่างรวดเร็ว สามารถดำรงชีวิตให้อยู่รอดได้ตามวัย การดำเนินโครงการบุคลากรด้านปฐมวัยมีบทบาทสำคัญมาก ในการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย ระดับปฐมวัย ถ้ามีบุคลากรที่มีคุณภาพก็จะนำไปสู่การพัฒนาเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน เป็นการสร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ครูปฐมวัยทุกคนในเรื่องใหม่ที่ทุกคนต้องเข้าใจ และนำลงสู่ห้องเรียนโดยการออกแบบการจัดประสบการณ์ เพื่อพัฒนาเด็กตามแนวทางการศึกษากับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเริ่มที่การสร้างความตระหนักก่อน และให้ความรู้โดยใช้ทักษะการเชื่อมโยงสังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ (SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย โรงเรียนที่ยังไม่เคยส่งขอรับการประเมิน จำนวน 62 คน และผู้เข้าอบรมออนไซต์ (Onsite) เป็นผู้ครูผู้สอนปฐมวัยโรงเรียนที่จะส่งขอรับการประเมินเพื่อรับตราอบรมออนไลน์ (Online) จำนวน 147 โรงเรียน คณะวิทยากร ผู้นำเครือข่ายท้องถิ่น (L N) วิทยากรเครือข่ายท้องถิ่น (LT) ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา และคณะครูแกนนำปฐมวัย
///
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
ชาติ มหาชน ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์/รายงาน
///
คมกฤช พวงศรีเคน ข่าว/ภาพ
ชาติ มหาชน ศูนย์ข่าวทีวีประชาชนออนไลน์/รายงาน