ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธาน การประชุมปรึกษาหารือ และประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 20 ปี พุทธศักราช 2556-2585

วันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 นายกฤษณ์ คงเมือง ผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นประธาน การประชุมปรึกษาหารือ และประชาพิจารณ์เกี่ยวกับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 20 ปี พุทธศักราช 2556-2585 ณ หอประชุมศูนย์ราชการจังหวัดเพชรบูรณ์ การประชุมปรึกษาหารือการจัดทำเป้าหมายการ พัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 20 ปี พุทธศักราช 2566-2585 จากการรายงานของหัวหน้าสำนักงานจังหวัดเพชรบูรณ์ บ้าก็เข้าร่วมประชุมในวันนี้ประกอบด้วย ก.บ.จ. จังหวัดเพชรบูรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้าหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในจังหวัด องค์กรภาคเอกชน ผู้แทนภาคประชาสังคม รวมถึงผู้แทนภาคธุรกิจเอกชน ในการชี้แจงร่างเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 20 ปีที่เกิดขึ้นในวันนี้ถือได้ว่าทุกภาคส่วนได้รับรู้รับทราบแล้วอยากให้เกิดการรับฟัง เสนอแนะ ให้คำแนะนำ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อร่วมกันกำหนดเป้าหมายและทิศทางการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ ให้มีประสิทธิภาพต่อไป แนวทางในการพัฒนา ตามแนวยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผน 13 นโยบายและแผนความมั่นคง นโยบายรัฐบาล แผนรายสาขาเฉพาะด้าน เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือ ศักยภาพโอกาสและข้อจำกัดของพื้นที่ ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา บริบทมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของประเทศและโลกที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ปัญหาความต้องการของประชาชน และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ที่มาของการประชุมปรึกษาหารือและการทำประชาพิจารณ์ ในครั้งนี้ เนื่องด้วยพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการพุทธศักราช 2565 ตามมาตรา 20 กำหนดให้คณะกรรมการบริหารจังหวัดแบบบูรณาการ กำหนดเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดครั้งละ 20 ปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และคำนึงถึงเป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาค ความต้องการและสวัสดิภาพของประชาชนในจังหวัด โดยสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในจังหวัดตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ที่ ก.น.บ. กำหนด
มาตรา 24 กำหนดให้ผู้รับราชการจังหวัด จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือร่วมกันทุกภาคส่วนเพื่อรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเป้าหมายเป็นการพัฒนาจังหวัด 20 ปี
มาตรา 26 ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่าง ยั่งยืนตามที่ ก.น.บ. กำหนดให้ ก.บ.จ. อาจปรับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด 20 ปีได้ โดยให้ดำเนินการตามมาตรา 20 วรรค 2 และมาตรา 24 โดยอนุโลมและต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.น.บ. มติคณะอนุกรรมการนโยบายบริหารงานเชิงพื้นที่แบบบูรณาการด้านวิชาการกฎหมาย และการบูรณาการแผนงานโครงการ (อ.ก.น.วิชาการ) ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 สำหรับเพชรบูรณ์มีจิตแข็งด้านสุขภาพและต้นทุน มีพื้นที่ทำการเกษตรกรรม แหล่งท่องเที่ยวและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องมีความหลากหลาย มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนอยู่ในเกณฑ์ดี มีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่ดี โดยมีเส้นทางคมนาคมทางบกและทางอากาศ อีกทั้งเส้นทางรางในอนาคตอันใกล้ ส่วนข้อจำกัด การคำคมมีเฉพาะทางถนนและความปลอดภัยต้องปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง มติการพัฒนาคนอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะทางการแพทย์และการศึกษา มติการพัฒนาด้านเศรษฐกิจ และความมั่งคั่งอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะในภาคเกษตรและนอกภาคเกษตร รายได้ต่อหัวที่ครัวเรือนและผลิตภาพแรงงาน ในด้านทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ป่าไม้ ขยะ PM 2.5 ภัยแล้งและอุทกภัย และการจัดเก็บรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
สำหรับโอกาสของจังหวัดเพชรบูรณ์ รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการเกษตรโดยสนับสนุนนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาช่วยกระบวนการผลิต เน้นการลดต้นทุนการสร้างมูลค่าเพิ่มภายใต้แนวคิดเกษตรปลอดภัยเกษตรอินทรีย์ ควบคู่กับการคณะอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปให้มีความหลากหลายสอดคล้องกับความต้องการของตลาด จึงเป็นโอกาสให้เพิ่มมูลค่ารายได้จากผลผลิตทางการเกษตร การเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและระบบการค้าระหว่างประเทศ
รัฐบาลผลักดันให้ใช้ความได้เปรียบของพื้นที่ในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีมูลค่าสูงเพื่อแข่งขันกับตลาดโลก รัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยว และการส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งทุน มีการสถาปนาความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกับแขวงไชยบุรีและแขวงหลวงพระบางของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
แนวโน้มการขยายตัวของกลุ่มอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร เริ่มเข้ามาในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้มีการใช้ประโยชน์จากสินค้าเกษตรในพื้นที่มากขึ้น กระแสสังคมผู้สูงอายุ สามารถสร้างโอกาสในการพัฒนาธุรกิจต่างๆในจังหวัดเพิ่มมากขึ้น นโยบายในคณะรัฐบาลให้ความสำคัญต่อการปรับเปลี่ยนหน่วยงานภาครัฐไปสู่รัฐบาลดิจิทัล หรือ Thailand 4.0 รวมทั้งมี นโยบายส่งเสริมให้จังหวัดพัฒนาสู่เมืองอัจฉริยะ Smart City การปฏิวัติทางด้านดิจิทัล จะนำมาสู่การปรับเปลี่ยนระบบ ที่เน้นความเป็นอัตโนมัติมากขึ้น จะนำสู่การพัฒนาฝีมือแรงงานพัฒนาประสิทธิภาพ ในการ ทำงานของส่วนต่างๆ ระบบเศรษฐกิจยุคใหม่ เป็นเศรษฐกิจและองค์ความรู้และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลต่อโครงสร้างแรงงาน ที่เกิดอาชีพใหม่ๆ และกระแสการใช้พลังงานทดแทน อุปสรรคและปัญหา ผลกระทบและข้อจำกัดในการแข่งขันของสินค้าการเกษตร อันหนึ่งมาจากนโยบายการเปิดการค้าเสรี ข้อจำกัดด้านงบประมาณในการขับเคลื่อนการพัฒนาในพื้นที่ การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่ไม่มีความแน่นอน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้จำนวนประชากรในวัยแรงงานลดลง ระเบียบกฎหมายของรัฐที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหาในการพัฒนาในพื้นที่ ข้อจำกัดในการใช้เทคโนโลยี ทักษะการใช้งานที่ถูกต้องการใช้สื่อในทางที่ผิด หรือพฤติกรรมการเลียนแบบอาชญากรรมทางเพศหรือไซเบอร์ รวมไปถึงสถานการณ์ การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ มีความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความผันผวนของเศรษฐกิจโลก และการเมืองภายในประเทศ
สำหรับเป้าหมายการพัฒนาจังหวัดเพชรบูรณ์ 20 ปี เพชรบูรณ์จะเป็นเมืองแห่งการท่องเที่ยว เกษตรมูลค่าสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและศูนย์กลางเชื่อมโยงเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคมุ่งสู่การเป็นเมืองแห่งความสุขของคนอยู่และผู้มายืน โดยมีเป้าหมายย่อย
การพัฒนาที่ 1 ด้วยการส่งเสริมเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์อย่างครบวงจร
การพัฒนาที่ 2 คือการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อสร้างสรรค์มูลค่าเพิ่ม
การพัฒนาที่ 3 คือการยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความมั่นคงอย่างเท่าเทียม
การพัฒนาที่ 4 การบริหารจัดการทรัพยากรทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
และการพัฒนาที่ 5 เหตุการณ์สำหรับขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ
ส่วนแผนการดำเนินงานที่สำคัญ หรือ Road Map
แผนที่ 1 แผนการพัฒนาและส่งเสริมเกษตรปลอดภัยเกษตรอินทรีย์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเกษตรชีวภาพและเกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าสูง
แผนที่ 2 แผนการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวและเพิ่มมูลค่าธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง
แผนที่ 3 แผนงานยกระดับคุณภาพชีวิตและส่งเสริมความมั่นคง
ที่ 4 คือแผนงานบริหารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
แผนที่ 5 งานยกระดับเขตความสามารถการแข่งขัน
โครงการที่จำเป็นต้องผลักดันตามแผนการดำเนินงานสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นโครงการยกระดับรายได้เกษตรกรตามแนวทางเกษตรปลอดภัยเกษตรอินทรีย์เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นเกษตรชีวภาพและเกษตรแปรรูปที่มีมูลค่าสูง โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและโลจิสติกส์ เพื่อยกกำลังคิดความสามารถการแข่งขัน ชมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในเขตพื้นที่ชุมชนเมืองและหมู่บ้านเป้าหมาย และโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้มีมูลค่าที่สูงขึ้น
ภาพรวมโครงสร้างทางเศรษฐกิจ 3 ด้าน ของจังหวัดเพชรบูรณ์คือ ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม และภาคบริการ โดยในปีพุทธศักราช 2564 มีมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมเท่ากับ 80,199 ล้านบาท มีการพึ่งพาภาคบริการเป็นหลัก รองเท้าการเกษตรและภาคอุตสาหกรรมตามลำดับ
ภาพรวมการท่องเที่ยว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีความอุดมสมบูรณ์ ชื่อจำนวนมาก มีแนวโน้มรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี รายได้ส่วนใหญ่เป็นรายได้ท่องเที่ยวชาวไทย ในแง่ของรายได้จากการท่องเที่ยวชาวต่างชาติ แต่ก็มีในวันที่เพิ่มขึ้นทุกปี เว้นในช่วงระหว่างที่ เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2019
ภาพรวมการเกษตร จำนวนครัวเรือนเกษตรกรจะขึ้นทะเบียนเกษตรกรในปีพุทธศักราช 2564 มีจำนวน 127,426 ครัวเรือน มีผลผลิตทางการเกษตรที่มีมูลค่าการจำหน่ายสูงสุด 5 อันดับแรก ในปีพุทธศักราช 2564 ทับ 2565 ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดฤดูแล้ง มะขามหวาน อ้อยโรงงาน และมันสําปะหลังโรงงาน มีสินค้าได้รับการขึ้นทะเบียนซิมบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย
สมกับอัตราส่วนหนี้เฉลี่ยต่อรายได้เฉลี่ยของคนอื่นตั้งแต่ปี 2559-2563 สูงขึ้นกว่าภาคกลางของประเทศทุกปี โดยในปี 2563 โดยที่ 7.88 เท่า และการจัดเก็บรายได้ขององค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2559 ถึง 2563 ร้อยละภาษีที่ท้องถิ่นจัดเก็บได้ต่อรายได้รวมที่ไม่รวมเงินอุดหนุนและเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ต่ำกว่าค่ากลางของประเทศทุกปี โดนอีกปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 7.30 น
ผลการดำเนินงานพัฒนาตามประเด็นการพัฒนาของจังหวัดที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่รายได้ของประชากรจังหวัดเพชรบูรณ์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยวัดจากผลึกผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด หรือ gpp และผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดต่อคน รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นโดยวัดจากจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จำนวนผู้มีรายได้น้อยลดลง หรือวัดจัดร้อยละของประชากรที่อยู่ใต้เส้นความยากจน มูลค่าความเสียหายจากการเกิดอุทกภัยลดลง