บึงกาฬ มท.2 เปิดเวทีสรุปผลการศึกษาโครงการสร้างถนนมอเตอร์เวย์ อุดรธานี - บึงกาฬ
บึงกาฬ มท.2 เปิดเวทีสรุปผลการศึกษาโครงการสร้างถนนมอเตอร์เวย์ อุดรธานี - บึงกาฬ
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 19 พ.ค. ณ ห้องประชุมคอนเวนชันฮอลล์ โรงแรมเดอะวัน อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางหลวงแนวใหม่เชื่อมโยงทางหลวงหมายเลข 2 - ทางหลวงหมายเลข 222 อุดรธานี – บึงกาฬ โดยมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายสราญ มีมูซอ ผู้แทนกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ บริษัทที่ปรึกษา พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวบึงกาฬกว่า 500 คน เข้าร่วมในเวทีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในครั้งนี้
ดร. ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท. 2) กล่าวว่า การสรุปผลการศึกษาโครงการครั้งนี้ ได้นำเสนภาพรวมผลกระทบการแก้ปัญหาและรูปแบบการออกแบบต่อทุกภาคส่วน โดยจะเปิดรับฟังเสียงของประชาชน หากโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกันของประชาชน และการขยายตัวของพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่จะเป็นช่องทางในการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวระหว่างชุมชน การเกิดชุมชนแห่งใหม่ระหว่างเส้นทาง ซึ่งอีกไม่กี่เดือนจังหวัดบึงกาฬ จะก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) แล้วเสร็จ เพราะฉะนั้นเส้นทางจากอุดรธานีจึงเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้าที่มาจากภาคอื่น ๆ ที่จะไปประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว หรือเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าเรือน้ำลึกเวียดนาม ซึ่งจังหวัดบึงกาฬจะกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายแดนลุ่มน้ำโขงที่น่าจับตาในการลงทุนอย่างมาก อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้า การค้าขายสินค้าชุมชน การแสดงศักยภาพด้านศิลปะวัฒนธรรมพื้นถิ่น การท่องเที่ยวในพื้นที่ที่กำลังพัฒนาให้สอดรับกับโอกาสทางเศรษฐกิจดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหินสามวาฬ การขยายและปรับรูปแบบการรองรับนักท่องเที่ยวของถ้ำนาคา รวมถึงการก่อสร้างโครงการผังเมืองรวม หรือแลนด์มาร์คบึงกาฬ ที่จะเป็นแลนด์มาร์คที่สวยที่สุดในภาคอีสาน ตลอดจนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่สนามบินบึงกาฬ ที่มีรันเวย์ยาวกว่า 2990 เมตรจึงสามารถรองรับเครื่องบินโดยสารหรือเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำมาซึ่งความเจริญและการพัฒนาต่อยอดในพื้นที่
ดร.ทรงศักดิ์ กล่าวย้ำอีกว่า ในเขตพื้นทีจังหวัดบึงกาฬที่เส้นทางใหม่นี้ตัดผ่าน ส่วนมากก็จะเป็นสวนยางพารา และเป็นพื้นที่ สปก.4-01 การเวนคืนที่ดินนั้น ค่าเวนคืนก็จะตกแกผู้มีชื่อใน สปก.หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ ส่วนเจ้าของรายใหม่ที่ซื้อขายกันมาก็จะไม่ได้รับเงิน เพราะ สปก.ห้ามซื้อขาย ยกเว้นโอนมรดกตกทอดให้กับทาญาติเท่านั้น เรื่องนี้สำคัญเจ้าของใหม่และเจ้าของเก่าต้องตกลงกันให้ดี หากมีการฟ้องร้องกัน สปก.แปลงนั้นก็จะถูกยกเลิกไปหรือยึดคืนที่ดินเป็นของรัฐ ดังนั้น ก็จะไม่มีใครได้เงินเวนคืนจากการตัดถนนผ่านในครั้งนี้เลย
fสำหรับแนวเส้นทางโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นที่ กม.424+465 ของทางหลวงหมายเลข 2 ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และจุดสิ้นสุดของโครงการบริเวณทางหลวงหมายเลข 244 ทางเลี่ยงเมืองบึงกาฬ ที่ดำเนินการก่อสร้างบริเวณตำบลวิศิษฐ์ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเชื่อมโยงเส้นทางสนามบินบึงกาฬ จึงไปถึงเส้นทางสะพานมิตรภาพไทย ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ - บอลิคำไซ ได้ด้วย โดยมีรวมระยะทางประมาณ 155.288 กิโลเมตร พื้นที่สำรวจครอบคลุมในระยะ 500 เมตรจากกึ่งกลางแนวเส้นทาง โดยผ่านเขตพื้นที่ปกครอง 3 จังหวัด 10 อำเภอ 29 ตำบล และ 100 หมู่บ้าน และยังมีจุดพักรถ 1 จุด ขนาดใหญ่ที่จะมีศูนย์อำนวยความสะดวกในตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคายด้วย ขณะที่นายสราญ มีมูซอ ผู้แทนกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ให้ข้อมูลว่า หากเป็นไปตามกำหนดเวลา คาดว่า โครงการทางหลวงอุดรธานี - บึงกาฬ จะแล้วเสร็จและสามารถเปิดใช้งานได้ ปี 2571
นิธิศักดิ์ เศรษฐแสงศรี//บึงกาฬ 093319399
เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 19 พ.ค. ณ ห้องประชุมคอนเวนชันฮอลล์ โรงแรมเดอะวัน อ.เมืองบึงกาฬ จ.บึงกาฬ ดร.ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) เป็นประธานเปิดการประชุมสรุปผลการศึกษาโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 3) โครงการจ้างวิศวกรที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร ทางหลวงแนวใหม่เชื่อมโยงทางหลวงหมายเลข 2 - ทางหลวงหมายเลข 222 อุดรธานี – บึงกาฬ โดยมี นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบึงกาฬ นายสราญ มีมูซอ ผู้แทนกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม นางแว่นฟ้า ทองศรี นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดบึงกาฬ บริษัทที่ปรึกษา พร้อมหัวหน้าส่วนราชการ และประชาชนชาวบึงกาฬกว่า 500 คน เข้าร่วมในเวทีการรับฟังความคิดเห็นประชาชนในครั้งนี้
ดร. ทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท. 2) กล่าวว่า การสรุปผลการศึกษาโครงการครั้งนี้ ได้นำเสนภาพรวมผลกระทบการแก้ปัญหาและรูปแบบการออกแบบต่อทุกภาคส่วน โดยจะเปิดรับฟังเสียงของประชาชน หากโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานซึ่งเชื่อมโยงการคมนาคมระหว่างกันของประชาชน และการขยายตัวของพื้นที่ทางเศรษฐกิจที่จะเป็นช่องทางในการขนส่งสินค้า การท่องเที่ยวระหว่างชุมชน การเกิดชุมชนแห่งใหม่ระหว่างเส้นทาง ซึ่งอีกไม่กี่เดือนจังหวัดบึงกาฬ จะก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 5 (บึงกาฬ - บอลิคำไซ) แล้วเสร็จ เพราะฉะนั้นเส้นทางจากอุดรธานีจึงเป็นเส้นทางหลักสำหรับการขนส่งสินค้าที่มาจากภาคอื่น ๆ ที่จะไปประเทศเพื่อนบ้านอาเซียนไม่ว่าจะเป็น สปป.ลาว หรือเวียดนาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่าเรือน้ำลึกเวียดนาม ซึ่งจังหวัดบึงกาฬจะกลายเป็นเมืองศูนย์กลางทางเศรษฐกิจชายแดนลุ่มน้ำโขงที่น่าจับตาในการลงทุนอย่างมาก อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้า การค้าขายสินค้าชุมชน การแสดงศักยภาพด้านศิลปะวัฒนธรรมพื้นถิ่น การท่องเที่ยวในพื้นที่ที่กำลังพัฒนาให้สอดรับกับโอกาสทางเศรษฐกิจดังกล่าวที่กำลังจะเกิดขึ้น เช่น การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวหินสามวาฬ การขยายและปรับรูปแบบการรองรับนักท่องเที่ยวของถ้ำนาคา รวมถึงการก่อสร้างโครงการผังเมืองรวม หรือแลนด์มาร์คบึงกาฬ ที่จะเป็นแลนด์มาร์คที่สวยที่สุดในภาคอีสาน ตลอดจนการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่สนามบินบึงกาฬ ที่มีรันเวย์ยาวกว่า 2990 เมตรจึงสามารถรองรับเครื่องบินโดยสารหรือเครื่องบินขนส่งขนาดใหญ่ได้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำมาซึ่งความเจริญและการพัฒนาต่อยอดในพื้นที่
ดร.ทรงศักดิ์ กล่าวย้ำอีกว่า ในเขตพื้นทีจังหวัดบึงกาฬที่เส้นทางใหม่นี้ตัดผ่าน ส่วนมากก็จะเป็นสวนยางพารา และเป็นพื้นที่ สปก.4-01 การเวนคืนที่ดินนั้น ค่าเวนคืนก็จะตกแกผู้มีชื่อใน สปก.หรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ ส่วนเจ้าของรายใหม่ที่ซื้อขายกันมาก็จะไม่ได้รับเงิน เพราะ สปก.ห้ามซื้อขาย ยกเว้นโอนมรดกตกทอดให้กับทาญาติเท่านั้น เรื่องนี้สำคัญเจ้าของใหม่และเจ้าของเก่าต้องตกลงกันให้ดี หากมีการฟ้องร้องกัน สปก.แปลงนั้นก็จะถูกยกเลิกไปหรือยึดคืนที่ดินเป็นของรัฐ ดังนั้น ก็จะไม่มีใครได้เงินเวนคืนจากการตัดถนนผ่านในครั้งนี้เลย
fสำหรับแนวเส้นทางโครงการฯ มีจุดเริ่มต้นที่ กม.424+465 ของทางหลวงหมายเลข 2 ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี และจุดสิ้นสุดของโครงการบริเวณทางหลวงหมายเลข 244 ทางเลี่ยงเมืองบึงกาฬ ที่ดำเนินการก่อสร้างบริเวณตำบลวิศิษฐ์ จังหวัดบึงกาฬ ซึ่งเชื่อมโยงเส้นทางสนามบินบึงกาฬ จึงไปถึงเส้นทางสะพานมิตรภาพไทย ลาว แห่งที่ 5 บึงกาฬ - บอลิคำไซ ได้ด้วย โดยมีรวมระยะทางประมาณ 155.288 กิโลเมตร พื้นที่สำรวจครอบคลุมในระยะ 500 เมตรจากกึ่งกลางแนวเส้นทาง โดยผ่านเขตพื้นที่ปกครอง 3 จังหวัด 10 อำเภอ 29 ตำบล และ 100 หมู่บ้าน และยังมีจุดพักรถ 1 จุด ขนาดใหญ่ที่จะมีศูนย์อำนวยความสะดวกในตำบลเฝ้าไร่ อำเภอเฝ้าไร่ จังหวัดหนองคายด้วย ขณะที่นายสราญ มีมูซอ ผู้แทนกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม ให้ข้อมูลว่า หากเป็นไปตามกำหนดเวลา คาดว่า โครงการทางหลวงอุดรธานี - บึงกาฬ จะแล้วเสร็จและสามารถเปิดใช้งานได้ ปี 2571
นิธิศักดิ์ เศรษฐแสงศรี//บึงกาฬ 093319399