ประชุมซูมร่วม สสส. นายก อบจ.นครสวรรค์ ประชุมคณะกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับ สสส.
ประชุมซูมร่วม สสส. นายก อบจ.นครสวรรค์ ประชุมคณะกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุน
สนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับ สสส.
วันที่ 16 มีนาคม 2566 พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายก อบจ.นครสวรรค์ พร้อมด้วย นายสันติ จันทร์เผิบ รองปลัด อบจ. นครสวรรค์, นายวีระชัย ก้อนมณี ผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอชื่อโดย สสส., นายแพทย์สมพงษ์ ยูงทอง ผู้ทรงคุณวุฒิที่เสนอชื่อโดย อปท. ,นายวิสุทธิ บุญญะโสภิต ภาคประชาชนในพื้นที่ที่เสนอชื่อโดย สสส. นายอภิชาต พึ่งทอง ภาคประชาชนในพื้นที่ที่เสนอชื่อโดย สสส. และ นางนิศากร ชูเมือง นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กองสาธารณสุข เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรม Zoom Meeting ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ อบจ.นครสวรรค์
โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ได้เปิดโอกาสให้ อปท. ที่มีความพร้อมในการจัดสรรเงินเข้าสมทบทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของเงินที่ได้รับการจัดสรรจาก สสส. สามารถเข้าร่วมพัฒนาแผนงานร่วมทุนกับ สสส. เพื่อนำไปสนับสนุนให้เกิดการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพในพื้นที่อย่างกว้างขวาง
เป้าหมายของการร่วมทุน ภายใต้แผนสร้างสรรค์โอกาสสร้างเสริมสุขภาวะ
โดยมีสัดส่วนงบประมาณ ดังนี้คือ
1. สสส. (70%)
2. ภาคี (ไม่น้อยกว่า 30%)
3. แหล่งทุนอื่นๆ
• แผนงานร่วมทุนระดับจังหวัด (ระดับพื้นที่)
• กระจายโอกาสการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่
1. ประชาชนเข้าถึงทุนดำเนินโครงการ
2. ประชาชนได้รับประโยชน์ทางสุขภาพ
3. ประชาชนมีส่วนร่วมและมีศักยภาพ
โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก คือ การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายจากการวิเคราะห์ผลลัพธ์และเป้าหมายร่วมกัน โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ซึ่งถือเป็นภาคีหุ้นส่วน (Boundary Partners) ประกอบด้วย
1. เครือข่าย รพ.สต. ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รพ.สต. ที่โอนย้ายมาอยู่ในสังกัดของ อบจ.นครสวรรค์ เพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนประเด็นสุขภาวะในตำบล
2. เครือข่ายเกษตรกรที่จะเป็นต้นแบบในการขับเคลื่อนระบบอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ คัดเลือกจากภาคีเครือข่ายที่มีความตั้งในในการทำงานด้านเกษตรปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งภาคีที่มีความเข้มแข็งในการทำงานในพื้นที่อยู่แล้ว
3. โรงเรียน ผู้นำชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีความต้องการทำงานเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสุขภาวะในชุมชน
นายก อบจ.นครสวรรค์ กล่าวว่า “ต้องขอขอบคุณที่จัดโครงการนี้ขึ้นมา ซึ่งได้นำเอาองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้าน ในการจัดโครงการทั้ง 35 โครงการ ที่ได้มีอำเภอนำร่อง 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอแม่เปิน อำเภอแม่วงก์ และอำเภอเก้าเลี้ยว ถือว่าเป็นการเติมเต็ม ซึ่งส่งเสริมและสนับสนุนกลไกการทำงานในระดับตำบล ชุมชน โดยมี รพ.สต. เป็นแกนกลางในการเชื่อมร้อยกับภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพ เช่น โรงเรียน องค์กรพัฒนาท้องถิ่น กลุ่มบุคคล เกษตรกร ให้เป็นฐานการขับเคลื่อนงานสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการ เพื่อให้เกิดกระบวนการพัฒนาและเสริมสร้างการมีวิถีชีวิตสุข”
////
ชาติชาย/นครสวรรค์