“อลงกรณ์”คิกออฟโครงการ”ฮับปลาสวยงาม”ส่งเสริมอาชีพใหม่ ตั้งเป้าพัฒนาเพชรบุรีเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาและแหล่งผลิตจำหน่ายปลาสวยงามปัอนตลาดในและต่างประเทศเจาะตลาดหมื่นล้านสร้างอาชีพและรายได้ใหม่ให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชน
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพประมงไทยเปิดเผยวันนี้ภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมอาชีพการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามโดยว่า กิจกรรมครั้งนี้เป็นการคิกออฟโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงปลาสวยงาม วันนี้เรื่องปากท้องเรื่องอาชีพเรื่องการสร้างรายได้สำคัญที่สุด โดยตั้งเป้าให้เพชรบุรีเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาและแหล่งผลิตจำหน่ายปลาสวยงามปัอนตลาดในและต่างประเทศสร้างอาชีพและรายได้ใหม่ให้นักเรียนนักศึกษาและประชาชนผ่านช่องทางตลาดแบบออฟไลน์และออนไลน์ โดยคาดหมายว่าจะเป็นการเริ่มต้นอาชีพทางเลือกใหม่และจะส่งเสริมให้มีธุรกิจปลาสวยงามและสตาร์ทอัพปลาสวยงามเกิดขึ้นในปีนี้ เพชรบุรีมีศักยภาพสูงมากสามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำจืดน้ำทะเลเช่น ปลาเวียน ปลากัด ปลาหางนกยูง ปลาการ์ตูน เป็นต้นซึ่งเป็นปลาสวยงามที่ตลาดต้องกาาโดยเพชรบุรีมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลียง สัตว์น้าชายฝั่งเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุกรรมสัตว์น้ำเพชรบุรี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด โครงการฟาร์มทะเลตัวอย่างตามพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นฐานสำคัญสำหรับการพัฒนาต่อยอดให้เพชรบุรีเป็นศูนย์กลางของปลาสวยงาม
จากข้อมูลผู้เพาะเลี้ยงมีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน ทบ. 1 (สัตว์น้ำสวยงาม) กับกรมประมง ในปี 2562 จํานวน 1,625 ราย , ปี 2563 มีจํานวน 1,919 ราย และ ปี 2564 มีจํานวน 2,442 ราย ซึ่งส่วนใหญ่มีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสวยงามอยู่ในจังหวัดนครปฐม, ราชบุรี, กรุงเทพฯ และปริมณฑล, นครสวรรค์ และ สุพรรณบุรี ในปี 2564 เกษตรกรขึ้นทะเบียนฯ รับรองมาตรฐานฟาร์มเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำ สวยงาม (GAP) จำนวน 350 ฟาร์ม, สอ.3 จํานวน 189 ราย และสอ.4 จํานวน 83 ราย โดยแหล่งผลิตและตลาดปลาสวยงามที่มากที่สุด ตั้งอยู่ในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี มีชื่อว่า ”Fish Village” เป็นตลาดกลางปลาสวยงาม และสัตว์เลี้ยง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และมูลค่าการส่งออกสัตว์น้ำสวยงามที่ปรากฎในข้อมูลของกรมประมง ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีมูลค่าประมาณ 700–1,000 ล้านบาทต่อปี แต่มูลค่าซื้อขายกันจริงๆ สูงกว่าที่ปรากฏ 5 - 10 เท่า และประเทศที่นำเข้าปลาสวยงามจากประเทศไทยอันดับต้นๆ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลีใต้ อิหร่าน ญี่ปุ่น รัสเซีย โปแลนด์ ไต้หวัน เยอรมนี ฯลฯ โดยเฉพาะจีนเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อ และอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นทุกปี ในขณะที่สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดใหญ่ที่นำเข้าสัตว์น้ำสวยงามจากประเทศไทยมากที่สุดต่อเนื่องอย่างยาวนาน โดยชนิดปลาสวยงามที่ส่งออกมากที่สุด คือ ปลากัด ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ เมื่อ 5 ก.พ. 2562 และรองจากปลากัดลงมา ได้แก่ ปลาหางนกยูง ปลาทอง ปลาลูกผึ้ง และปลาหมอสี เป็นต้น
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมประมงได้ดำเนินการอนุรักษ์พันธุ์ปลาสวยงามให้ควบคู่ไปกับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเพาะเลี้ยงเพื่อสร้างสายพันธุ์ให้สวยงามแปลกใหม่ เพื่อผลักดันให้ปลาสวยงามไทยก้าวขึ้นไปอยู่ในระดับประเทศผู้ส่งออกปลาสวยงามที่สำคัญอันดับต้นๆ ในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งกระตุ้นธุรกิจปลาสวยงามควบคู่ไปกับการปลูกสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สัตว์น้ำพื้นเมืองของไทยไม่ให้สูญพันธุ์ไปจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งในการเพาะเลี้ยงปลาสวยงามนั้น สามารถทำเป็นธุรกิจได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น
1. การเพาะส่งขายในต่างประเทศ
2. การซื้อปลาจากฟาร์ม แล้วนำมาขายออนไลน์
3. การซื้อปลาจากฟาร์ม ขายผู้ส่งออก/ขายต่างประเทศ
4. การทำแพลตฟอร์มขายปลาสวยงาม
5. ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ครบวงจร เช่นตู้ปลา พรรณไม้น้ำ ของตกแต่ง ไฟ อาหาร น้ำยาปรับคุณภาพน้ำ เป็นต้น.