“อลงกรณ์”ลงพื้นที่เขื่อนแก่ง หลังเปิดเทศกาลได้ 2 วัน จับปลาบึกได้ 14 ตัว ปีนี้ราคาดีสูงสุดกิโลกรัมละ 300 บาท ตัวใหญ่สุดที่จับได้ในปีนี้น้ำหนัก 173 กิโลกรัม
เมื่อเวลา 06.30 น.วันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่เขื่อนแก่งกระจาน อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อดูการล่าปลาบึกของพรานปลาบึก ในช่วงเทศกาลล่าปลาบึกเขื่อนแก่งกระจาน ซึ่งหน่วยป้องกันและปราบปรามประมงน้ำจืดเขื่อนแก่งกระจาน เปิดเทศกาลล่าปลาบึกเขื่อนแก่งกระจานมาตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2565 และไปสิ้นสุดในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2566 รวม 2 เดือน โดยอนุญาตให้จับปลาบึกได้ไม่เกิน 50 ตัว และหากจับปลาบึกได้ครบ 50 ตัว ถือเป็นการสิ้นสุดเทศกาลล่าปลาล่าปลาบึกเขื่อนแก่งกระจาน หรือถึงวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2566แล้วยังจับปลาบึกได้ไม่ครบ 50 ตัวก็ถือว่าหมดเทศกาลล่าปลาบึกเช่นกัน
ปัจจุบันในเขื่อนแก่งกระจานมีพรานล่าปลาบึกอยู่ 34 ราย และที่เปิดเทศกาลล่ามา 2 วัน พรานปลาล่าปลากบึกได้จำนวน 14 ตัว ปลาบึกที่ล่าได้ตัวใหญ่ที่สุดในปีนี้ น้ำหนัก 173 กิโลกรัม เล็กที่สุดน้ำหนัก 50 กิโลกรัม ซึ่งปลาบึกที่จับได้จะมีแม่ค้ามารับซื้อ หากเป็นปลาตาย จะรับซื้อกิโลกรัมละ 110 บาท แต่ถ้าเป็นปลาเป็น จะส่งบ่อตกปลา (ฟิชชิ่งปาร์ก) ในราคากิโลกรัมละ 300 บาท
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าว่าปลาบึกถือว่าเป็นปลาเศรษฐกิจและเป็นปลาอนุรักษ์ที่เราดูแลอย่างดีโดยที่ในแต่ละปีก็จะมีกิจกรรมเช่นนี้โดยการกำหนดให้มีการขึ้นทะเบียนพรานล่าปลาบึก ทำประมงปลาบึกปีละครั้งรวม 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน โดยกำหนดว่าแต่ละปีไม่เกิน 50 ตัว ทั้งในส่วนที่เป็นปลาบึกสด ดังนั้นการทำการประมงโดยพี่น้องชุมชนประมงที่อยู่รอบเขื่อนแก่งกระจาน ได้มีการจัดตั้งเป็นองค์การชุมชนประมงท้องถิ่นการทำประมงก็ได้ประโยชน์จากอาชีพในเรื่องของการทำประมง ปลาบึกก็เป็นปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดแล้วก็ที่แก่งกระจานประสบความสำเร็จมากทีเดียวในการที่จะบริหารจัดการโดยใช้มาตรฐานการจัดการโดยใช้มาตรการต่าง ๆ ในแต่ละปีก้จะกำหนดในการปล่อยลูกปลาบึกใหม่ ๆ ในอัตราของการจับ 1 ต่อ 50 เป็นอย่างน้อย จึงได้มีกิจกรรมในการทำประมงปลาบึกที่แก่งกระจานทุกปี ปีที่แล้วก็ 50 ตัว น้ำหนักสูงสุด 182 กิโลกรัม ปีนี้เพียงวันที่ 2 ก็สามารถได้ที่น้ำหนัก 173 กิโลกรัม.