แถลงข่าว การจัดงานประกวดควายสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรชัตติยราชนารี กิจกรรม "อุดรธานี วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก" ประจำปี 2565 อุดรธานี พร้อมต้อนรับทัพควายงาม ในการประกวดควายสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเจ้าน้องนาง เธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษ์ณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กิจกรรม "อุดรธานี วิถี คน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก" วันที่ 18-19 พฤศจิกายนนี้
เย็นวันนี้ (9 พ.ย.65) ที่สนามทุ่งศรีเมือง (หน้า อบจ.อุดรธานี) อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี นายวัน
ชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานแถลงข่าวการจัดงานประกวดควายสวยงาม ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี กิจกรรม "อุดรธานี วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก" ซึ่งกำหนดจัดขึ้น วันที่ 18-19พฤศจิกายน 2565 วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ณ พื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งโป่งวัว (โคกหนองโกสาธารณะ) ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี เพื่อประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี กระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีไทย การผลิตสินค้าโอทอปและผลิตภัณฑ์จากชุมชน เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นอีสาน ผลักดันให้เกิดการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย ให้เกษตรกรและผู้สนใจหันกลับมาเลี้ยงควายเพิ่มมากขึ้น และอนุรักษ์ควายไทยให้เป็นมรดกของคนไทย เป็นข้อมูลพื้นฐานความรู้ในการเพาะเลี้ยงควาย และใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการตัดสินใจเลี้ยงควายหรือการลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับวิถีคน วิถีควาย ซึ่งจะก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน แก้ไขปัญหาความยากจน ยกระดับเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น ให้มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืนสืบไปผู้เข้าร่วมแถลงข่าว ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี นายกสมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย และประธานเครือข่ายผู้เลี้ยงควายจังหวัดอุดรธานี มีหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารภาคเอกชน และสื่อมวลชนทุกแขนงร่วมรับฟังการแถลงข่าว
จังหวัดอุดรธานี ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงควายในจังหวัดอุดรธานี สมาคมอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย กำหนดจัดกิจกรรม"อุดรธานี วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก" วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ณ พื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งโป่งวัว (โคกหนองโกสาธารณะ) ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี โดยได้รับพระกรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้จากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี ในการเสด็จเป็นองค์ประธานมอบถ้วยรางวัลพระราชท าน แก่เกษตรกรเจ้าของควายที่ชนะเลิศในรุ่นควายยอดเยี่ยม (Grand champion) เพศผู้ เพศเมีย และรุ่นรองควายยอดเยี่ยม (Reserve champion) เพศผู้ เพศเมีย รวม 4 รางวัลสร้างความปลาบปลื้มเป็นล้นพ้นแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงควายในจังหวัดอุดร และที่มาจากทั่วประเทศ รวมถึงประชาชนในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีเป็นอย่างสูง ทั้งนี้ เมื่อสิ้นสุดการรับสมัครเข้าร่วมกิจกรรมวันที่ 31 ตุลาคม 2565 มีเกษตรกรนำควายสมัครเข้าร่วมกิจกรรม 530 ตัว แบ่งเป็น จังหวัดอุดรธานี 246 ตัว จังหวัดอื่น 284 ตัว
จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่หลากหลาย รวมทั้งด้านกสิกรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิถีชีวิตและอัตลักษณ์พื้นถิ่นอีสาน ที่มีโครงสร้างพื้นฐานด้านกสิกรรม ที่อาศัยวิถีธรรมชาติมาอย่างยาวนาน เช่น การปลูกข้าว โดยใช้แรงงานจากควายไทย เป็นต้น และมีการส่งเสริมการเลี้ยงควาย ทั้งโครงการจากรัฐ รวมถึงท้องถิ่น จากข้อมูลปี 2565 มีผู้เลี้ยงควายทั้งจังหวัดรวม 13,287 ราย จำนวนควาย 69,571 ตัว (อันดับ 10 ของประเทศ) องค์ประกอบสำคัญที่จะขับเคลื่อนในเชิงสร้างสรรค์ได้อย่างดี คือ ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย สืบสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นอีสาน การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการท่องเที่ยวที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้ง การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนด้านการท่องเที่ยวที่เป็นกลไกการขับเคลื่อนของจังหวัดรองในทุกมิติ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเป็นการเสริมสร้างจุดแข็งของการท่องเที่ยวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดอุดรธานีได้รับการยอมรับว่าสามารถรองรับการท่องเที่ยวเมืองรองให้เป็นฐานด้านวัฒนธรรมนวัตวิถี กระตุ้นให้เกษตรกรและผู้สนใจหันกลับมาเลี้ยงควายเพิ่มมากขึ้น เป็นการสืบสาน รักษา ต่อยอดตำนาน ควายโบราณบ้านเชียง สืบสานตำนานวิถีคนวิถีควาย ส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทย เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นอีสาน และเพื่ออนุรักษ์ควายไทยให้เป็นมรดกของคนไทย และอยู่คู่วิถีสังคมไทยอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ จากการขุดค้นทางโบราณคดีที่วัดโพธิ์ศรีในระหว่าง พ.ศ. 2546-2548 ได้พบโครงกระดูกที่มีความสมบูรณ์เช่น กระดูกควาย กระดูกปลาและกระดูกสุนัข ส่วนของโครงกระดูกควายนั้นไม่พบส่วนหัว ซึ่ง ดร.อำพัน กิจงาม นักโบราณคดีผู้เชี่ยวชาญเรื่องกระดูกสัตว์ได้ให้ความเห็นว่าน่าจะเป็นควายที่ถูกเลี้ยงไว้ใช้งาน เนื่องจากกระดูกกีบเท้ามีร่องรอยการลากไถเหมือนกับกระดูกของควายในปัจจุบัน และจากการศึกษาวิเคราะห์หลักฐานประเภทกระดูกสัตว์ที่พบจากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียงพบว่ามนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์รู้จักเลี้ยงควายสำหรับไถนาและมีการใช้เครื่องมือที่ทำจากเหล็กตั้งแต่ประมาณ 3,000-2,500 ปีมาแล้ว
ขอเชิญชวนประชาชนชาวอุดรธานี ร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดีต้อนรับนักท่องเที่ยว และเกษตรกรที่จะมาร่วม
กิจกรรมในครั้งนี้ พร้อมเชิญชวนประชาชนและนักท่องเที่ยวร่วมกิจกรรม "อุดรธานี วิถีคน วิถีควาย มรดกไทย มรดกโลก" วันที่ 18-19 พฤศจิกายน 2565 ณ พื้นที่สาธารณประโยชน์ทุ่งโป่งวัว (โคกหนองโกสาธารณะ) ซึ่งภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมหลัก คือ 1. การจัดแสดงนิทรรศการมีชีวิต "วิถีวัฒนธรรมคนอีสาน" 2. การแสดงนิทรรศการสินค้าโอทอปและผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดอุดรธานี 3.การประกวดควายสวยงามชิงถ้วยพระราชทาน ประจำปี 2565
.....................................................