ทางหลวง ฟังเสียงประชาชน ขยายถนน  อ.หล่มสัก-อ.คอนสาร 4 ช่องจราจร เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง  

ทางหลวง ฟังเสียงประชาชน ขยายถนน  อ.หล่มสัก-อ.คอนสาร 4 ช่องจราจร
เพิ่มประสิทธิภาพการคมนาคมขนส่ง เชื่อมต่อการเดินทางสู่ภูมิภาค

          8 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ณ ศาลาประชาคมที่ว่าการอำเภอหล่มเก่า  จังหวัดเพชรบูรณ์ กรทางหลวง

ร่วมกับบริษัทที่ปรึกษาจัดการประชุมสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบการพัฒนา

      (การสัมมนา ครั้งที่ 2) โครงการสำรวจและออกแบบทางหลวง 4 ช่องจราจร บนทางหลวงหมายเลข 12อำเภอ
หล่มสัก-อำเภอคอนสาร เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าผลการศึกษา และสรุปผลการคัดเลือกรูปแบบ
เหมาะสม พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนแนะเกี่ยวกับการศึกษาของโครงการ เพื่อนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก นายหมวดเอกพรพงษ์ ไหมแพง ชาญชัยภัครธากูร  หัวหน้ากลุ่ม งานบริหารงานปกครอง เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน ผู้นำชุมชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุมทางหลวงหมายเลข 12 ช่วง อำเภอหล่มสัก-อำเภอคอนสาร เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเร่งรัดขยายทางสายประธานให้เป็น 4 ช่องจราจร (ระยะที่ 2) และเป็นเส้นทางคมนาคมสำคัญที่เชื่อมโยงระหว่างภาคเหนือและ
ตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยปัจจุบันทางหลวงหมายเลข 12 ได้ดำเนินการขยายเป็นเสร็จระยะทาง   629 กิโลเมตร คงเหลือแนวเส้นทางช่วงที่เป็น 2 ช่องจราจร ระยะทาง 81 กิโลเมตร อำเภอ
หล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ถึงอำเภอคอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งตัดผ่านพื้นที่อนุรักษ์ทางธรรมชาติที่สำคัญหลายแห่ง
การพัฒนาเส้นทางโครงการจึงจำเป็นต้องทำการศึกษาในด้านต่างๆ เพื่อคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับโครงการ โดยในการศึกษาครั้งนี้ ที่ปรึกษาโครงการฯ ได้กำหนดแนวเส้นทางเลือกของโครงการไว้ 4 เส้นทาง และนำมาดำเนินการคัดเลือกแนวเส้นทางที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากหลักเกณฑ์ 3 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านวิศวกรรมและจราจร         ด้านเศรษฐกิจและการลงทุน และด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม พบว่าแนวเส้นทางเลือก N3 มีความเหมาะสม
โดยแนวเส้นทางอ้อมไปทางด้านเหนือ เริ่มจากบริเวณ กม.274+000 (จุดตัดทางหลวงหมายเลข 21) ตัดกับทางหลวง
หมายเลข 2466 กม.0+000 (สามแยกสักหลง) จากนั้นแนวเส้นทางจะเป็นถนนตัดใหมไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
ลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบทำการเกษตร หลังจากนั้นลักษณะพื้นที่จะเป็นพื้นที่เขาสูงชัน โดยจะมีการตัดเขา ปรับความลาดชัน ก่อสร้างแนวเส้นทางไปตามไหล่เขา ทั้งขาขึ้นและขาลง หลังจากนั้นปรับความลาดซันและเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 2216 เดิมบริเวณ กม.65+ 320 ซึ่งช่วงถนนตัดใหม่มีระยะทางรวมประมาณ 26.50 กิโลเมตร จากนั้นแนวเส้นทางจะมุ่งหน้าไป อำเภอน้ำหนาว ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ตามแนวทางหลวงหมายเลข 2216 เดิม อีกประมาณ65 กิโลเมตร ลักษณะพื้นที่ช่วงนี้จะเป็นเขาสูงชัน เส้นทางคดเคี้ยว เมื่อถึงจุดตัดสามแยกทางหลวงหมายเลข 221
กม.0+000 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 12 กม.429 +050 จากนั้นแนวเส้นทางจะเลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันออก ไป
ตามทางหลวงหมายเลข 12 เดิม อีกประมาณ 19 กิโลเมตร จนถึงจุดสิ้นสุดแนวเส้นทาง บริเวณจุดตัดทางหลวงหมาย
12 กม.448+000 รวมระยะทางประมาณ 110.146 กิโลเมตรนอกจากนี้ที่ปรึกษาโครงการยังมีแนวคิดการพัฒนาโครงการเบื้องต้นแบ่งออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
    

 

     แนวคิดการพัฒนาทางหลวงของโครงการ  บริเวณทางหลวงที่ผ่านย่านชุมชนออกแบบเป็น 6 ช่องจราจรไป - กลับว่างช่องละ 3.5 เมตรไหล่ทางกว้าง 2.5 เมตรและมีเกาะกลางแบบดินถม  .ส่วนบริเวณที่ข้างทางไม่มีชุมชนหรือชุมชนเบาบางออกแบบเป็น 4 ช่องจราจรไป - กลับเกาะกลางทำกำแพงคอนกรีตกว้าง 2.6 เมตรและทางหลวงบริเวณพื้นที่ภูเขาออกแบบเป็น 4 ช่องจราจรเกาะกลางแบบกำแพงคอนกรีตกว้าง 2.6 เมตรโดยทั้ง 3 รูปแบบจะดำเนินการในเขตทาง 60 เมตร
    แนวคิดการออกแบบทางสัตว์รอดทางสัตว์ข้าม    มี 2 รูปแบบ  สะพานบกออกแบบเป็นสะพานเพื่อให้รถสัญจรด้านบนและด้านล่างเป็นทางสัตว์ลอดโดยบนสะพานจะมีผนังกั้นเสียงและแสงไฟในยามค่ำคืนเพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนสัตว์ที่รอดไปมา  และอุโมงค์หรือทางรอดโดยใช้วิธีขุดเปิดก่อสร้างอุโมงค์ทางวิ่งและถมดินด้านบนปลูกต้นไม้เพื่อเป็นทางสัตว์ข้ามไปมา

 

        หลังจากนั้นได้มีการซักถามผู้ที่เข้าร่วมประชุมเพื่อเสนอแนะให้กับคณะของกรมทางหลวงและคณะที่ปรึกษา  โดยมีผู้นำชุมชนได้แนะนำเรื่องของสถานที่กลับรถ  เนื่องจากจะได้มีการทำถนนผ่านพื้นที่ ที่ชาวบ้านจะได้รับผล กระทบ  เพราะเป็นพื้นที่ของการเกษตร มีการใช้รถทางด้านการเกษตรกันเป็นจำนวนมากจึงอยากขอให้ทำที่กลับรถแบบปลอดภัย   และเรื่องของเส้นทางน้ำที่ถนนพาดผ่านเนื่องจากกลัวว่าจะเกิดน้ำท่วม   กรมทางหลวงได้ชี้แจงเรื่องของการปรับพื้นที่ถนนที่จะพาดผ่านพื้นที่ทางการเกษตรจะมีการสำรวจเพิ่มเติมเพื่อลดผลกระทบ   จากการนำเสนอของชาวบ้านและผู้นำชุมชนรวมถึงจะทำที่กลับรถใต้สะพานให้ได้มากที่สุด  และยังจะมีการประชุมย่อยเพิ่มเติมอีก 2 ครั้ง  เพื่อปรับแก้ให้ตรงกับความต้องการของประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากการสร้างถนนในครั้งนี้