นครพนม – "โมเดลต้นแบบ"เพื่อประชาชนผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ตามแผนงานของพลเอก ธัญญา เกียรติสาร ที่ปรึกษาพิเศษกองทัพบก/ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2564 ที่ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ผู้สื่อข่าวได้รับรายงานว่าภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีผลกระทบโดยตรงกับการเกษตรและแหล่งน้ำ ส่งผลเสียหายต่อกิจกรรมทางการเกษตร เช่น พื้นดินขาดความชุ่มชื้น พืชขาดน้ำ พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำ รวมถึงปริมาณลดลง ภัยแล้งที่เกิดมีผลต่อการเกษตร มักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่วนใหญ่เกิดจากฝนแล้ง และทิ้งช่วงจะมีปริมาณฝนลดลง ซึ่งภัยแล้งลักษณะนี้จะเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้นบางครั้งก็อาจครอบคลุมพื้นที่กว้างเกือบทั่วประเทศไทยโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรจึงได้เกิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย จึงได้ลงพื้นที่ติดตามแปลงเกษตรทฤษฎีใหม่ผสมผสานเป็นระบบการผลิตแบบพอเพียง ที่เกษตรกรสามารถเลี้ยงตัวเองได้มีความสามัคคี ร่วมมือร่วมใจในการช่วยเหลือซึ่งกันและกันเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่จังหวัดนครพนม โดยมีนายสรศักดิ์ พนาจันทร์ เกษตรกรบ้านห้วยทราย หมู่ที่ 5 ตำบลโพนแพง อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ได้พาเดินเยี่ยมชมแปลงเกษตรที่กำลังเจริญเติบโตอย่างสวยงาม รวมถึงได้เล่าความเป็นมาของโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรปีงบประมาณ 2561 (เพิ่มเติม) ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน บ้านห้วยทราย โดยกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ที่มีพลเอก ธัญญา เกียรติสาร ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงดำรงตำแหน่งแม่ทัพภาคที่ 2/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ประธานศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภายใต้การดำเนินการผ่านแนวคิด “ น้ำ คือ ชีวิต ” “ น้ำ คือ ความมั่นคง ” ตามคำสั่ง กองทัพภาคที่ 2/ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานตามนโยบายของคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และบูรณาการส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ที่มีที่ตั้งในจังหวัดนครราชสีมา ตลอดจนเชิญผู้เชี่ยวชาญร่วมเป็นที่ปรึกษาทั้งภาครัฐและภาคประชาชน สนับสนุนงบประมาณการดำเนินการโดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน ประจำปีงบประมาณ 2561 ภายใต้การบริหารจัดการสำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ตามคำสั่ง คสช. ที่ 46/2560 เพื่อให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเป็นไปแบบบูรณาการอย่างมีประสิทธิภาพ และยั่งยืนองค์กรกลางด้านน้ำ 1ใน 3 เสาหลัก สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีโดยตรง
นายสรศักดิ์ พนาจันทร์ เกษตรกรบ้านห้วยทราย กล่าวว่า ตั้งแต่ได้โครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรมาชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นมากกว่าแต่ก่อนมากถือว่าโชคดีมากที่ได้โครงการนี้มาโดยการนำของ พลเอก ธัญญา เกียรติสาร ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ถือว่าท่านได้ให้สิ่งที่ดีที่สุดไว้มากมาย โดยเป็นการบริหารจัดการน้ำร่วมกันระหว่างคนในกลุ่มเพื่อใช้ในการเกษตร เป็นการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบร่วมกันทุกคนในกลุ่มต่างแบ่งปันน้ำใจให้กันในการใช้น้ำ ถ้าเกิดว่าตัวผมเองไม่มีอาชีพนี้ที่เป็นหนทางที่นำไปสู่การเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ท่านได้ให้จิตสำนึกและหนทางอาชีพพร้อมกับได้มอบมรดกทางด้านความคิดและอาชีพที่ยั่งยืน ที่ท่านคิดเพื่อประชาชนจริงๆ ถึงแม้นว่าผมจะไม่มีเงินทองมากมายผมก็อยู่ได้เรามีแหล่งอาหาร เช่นกุ้ง หอย ปู ปลา พืชผักต่างๆ ผลไม้ต่างๆเป็นต้น หากคนเราจะมีที่ดินมากมายก็ไม่มีประโยชน์ถ้าไม่มีน้ำ และระบบน้ำของโครงการนี้มันเกินกำลังของชาวเกษตรกรมาก น้ำถือว่าเป็นหัวใจหลักของกลุ่มพี่น้องเกษตรกรเรา กลุ่มผู้ใช้น้ำต่างซาบซึ้งในน้ำใจเป็นอย่างมาก ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการสร้างแหล่งอาหารของครอบครัว ของชุมชน สังคมและประเทศชาติต่อไป ในการช่วยเหลือเกษตรกรนั้นหากช่วยเป็นเงินก็มีวันหมดไป หากช่วยแบบโครงการนี้มันคือถาวรวัตถุที่เราจะแสวงหาผลประโยชน์เพื่อนำน้ำไปใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุดที่สามารถจับต้องได้จริงๆ ที่สำคัญทำให้เรามีความสุขโดยไม่ต้องดิ้นรนออกไปทำงานไกลถิ่นฐานบ้านเกิดเลย เราอยู่ในชุมชนเราก็สามารถหาความสุขได้ ตื่นเช้ามาเราก็อยากมาหาต้นไม้ที่เราปลูกทุกวันมันคือชีวิตใหม่ที่เราออกแบบด้วยหนึ่งสมองสองมือเราเพื่อส่งทอดมรดกของความสุขให้ลูกหลานต่อไปในภายภาคหน้าในอนาคตต่อไป ต้องขอขอบคุณพลเอก ธัญญา เกียรติสาร ประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นอย่างสูงอีกครั้ง
ประวัติความเป็นมาของศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2561 มีคำสั่งจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คำสั่งกองทัพภาคที่ 2 /กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ที่ 29 / 2561 ลงวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 โดยมี พลตรี ธัญญา เกียรติสาร รองแม่ทัพภาคที่ 2/ รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 เป็นประธานศูนย์บริหารจัดการน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปี พ.ศ.2561 พลตรี ธัญญา เกียรติสาร และ พลตรี สุรชิน กาญจนจิตติ ได้เดินทางเข้าพบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อปรึกษาแนวทางการดำเนินโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร และลงพื้นที่พบปะประชาชนในพื้นที่เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับโครงการและการบริหารจัดการน้ำ
-ปีงบประมาณ 2561 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้รับงบประมาณโครงการติดตั้งระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร จำนวน 341 ระบบโดยรับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ประจำปีงบประมาณ 2561(เพิ่มเติม) ระยะเวลาการดำเนินการ วันที่เริ่มโครงการ วันที่ 3 ธันวาคม 2561 วันที่สิ้นสุดโครงการ 30 กันยายน 2562
-ปี พ.ศ.2562 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักรได้มอบอำนาจให้ พลโท ธัญญา เกียรติสาร แม่ทัพภาคที่ 2/ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ให้เป็นผู้อำนวยการโครงการและลงนาม ในหนังสือยืนยันขอรับการสนับสนุนเงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
-14 มิถุนายน 2562 กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในภาค 2 ได้ดำเนินกรรมวีธีจัดจ้างและได้ก่อหนี้ผูกพันเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย พลโท ธัญญา เกียรติสาร ได้ลงนามในสัญญาจ้างกับบริษัทผู้รับจ้าง จำนวน 341 ระบบ ต่อมาได้ตรวจสอบความถูกต้องของโครงการพบว่ามีการช้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่น จำนวน 4 ระบบ จึงรายงานขออนุมัติลดโครงการลง เหลือจำนวน 337 ระบบ (18 จังหวัดภาคอีสาน)
- ปัจจุบันระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์สร้างเสร็จเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระยะสัญญาค้ำประกันกับบริษัทผู้รับจ้างเป็นเวลา 2 ปี จึงจะสิ้นสุดสัญญาค้ำประกัน ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 และภายหลังสิ้นสุดการค้ำประกัน กองอำนวยการักษาความมั่นคงภายในภาค 2 จะดำเนินการซ่อมบำรุงระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกรที่ได้รับโครงการต่อไปอีก 3 ปี ห้วงตั้งแต่ปี 2565 -2567 จากนั้นจะเป็นการส่งมอบโครงการให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อไป
- เมื่อ 27 สิงหาคม 2563 คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ 86/2563 ลง 27 สิงหาคม 2563 โดยมี พลโท ธัญญา เกียรติสาร เป็นประธานคณะอนุกรรการฯ สืบเนื่องมาจากปี 2563 ได้เกิดปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง รวมถึงมีสถานการณ์การระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็น
อย่างมาก และในขณะเดียวกันต้องเตรียมการรับมือกับภาวะน้ำท่วมในช่วงฤดูฝน คณะรัฐมนตรีจึงได้จัดสรร
งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2563 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นให้กับหน่วยงานต่างๆ เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผลการดำเนินงานยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ดังนั้นจำเป็นต้องช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วนคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแหงชาติ จึงมีมติให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำรายภาคเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
วัตถุประสงค์ของโครงการระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตร
1. นำระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์มาใช้ในการสูบน้ำจากแหล่งน้ำใต้ดิน เพื่อช่วยเหลือประชาชนในด้านการอุปโภค บริโภค การเกษตร และกิจกรรมอื่นๆ
2. เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนและเป็นต้นแบบในการพัฒนาชุมชนอื่น
3. เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปสู่ภาคปฏิบัติให้เกิด ประสิทธิภาพสูงสุดตามแนวพระราชดำริ
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล ตามวิสัยทัศน์ Thailand 4.0 และโครงการไทยนิยมยั่งยืน ขั้นตอนการดำเนินงาน (ตามหนังสือยืนยันกองทุนฯ)
ภาพ/ข่าว : ไทบ้าน นิวส์ (พรพิพัฒน์ เพ็ชรสังหาร)