ศรีสะเกษ เปิดแล้วศูนย์กระจายสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย"ศรีลำดวน" เพื่อกระจายสินค้าสมุนไพรอันจะยังประโยชน์เกิดผลทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้าง รายได้ ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินการด้านสมุนไพร
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2565 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อาคารศูนย์กระจายสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย "ศรีลำดวน" สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ ดร.วัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ ได้เดินทางไปเป็นประธานในพิธีเปิดอาคารศูนย์กระจายสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและภูมิปัญญาไทย "ศรีลำดวน" ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้จัดทำศูนย์แห่งนี้ขึ้นมา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายสินค้าสมุนไพรอันจะยังประโยชน์เกิดผลทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้าง
รายได้ ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินการด้านสมุนไพร โดยมี นพ.ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ เป็นผู้กล่าวรายงาน และมีคณะแพทย์ พยาบาล บุคลากรทางการแพทย์สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ มาร่วมพิธีและให้การต้อนรับ
นพ.ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวว่า จากการที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ ได้รับสรรงบประมาณจากงบกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประจำปีงบประมาณ 2563 ภายใต้โครงการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรจากเกษตรกรกลุ่มปลูกสมุนไพรกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประจำปีงบประมาณ 2562 และ ปีงบประมาณ 2563 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสมุนไพรตั้งแต่ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ซึ่งในยุทธศาสตร์การ
พัฒนาสมุนไพรจังหวัดศรีสะเกษ ในกลางน้ำได้พัฒนาโรงพยาบาลห้วยทับทันเป็นศูนย์การผลิตยาสมุนไพร และโรงพยาบาลเบญจลักษ์เฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษาเป็นศูนย์กลางการพัฒนาเวชสำอาง และโรงพยาบาลขุนหาญเป็นศูนย์กลางการแปรรูปสมุนไพร โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษได้มีบทบาทหน้าที่เป็นปลายน้ำ
นพ.ทนง วีระแสงพงษ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ กล่าวต่อไปว่า ทั้งนี้เพื่อกระจายสินค้าสมุนไพร โดยได้รับงบประมาณการก่อสร้างอาคารศูนย์กระจายสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและภูมิ
ปัญญาไทย โดยใช้ชื่อว่า "ศูนย์กระจายสินค้าผลิตภัณฑ์แปรรูปสมุนไพรและภูมิปัญญาไทยศรีลำดวน" ซึ่งได้มีบทบาทหน้าที่เป็นแหล่งปลายน้ำ ในกระจายสินค้าและผลิตภัณฑ์จากต้นน้ำ กลางน้ำสู่ผู้บริโภค อันจะยังประโยชน์เกิดผลทางเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่เกษตรกรกลุ่มผู้ปลูกสมุนไพร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ดำเนินการด้านสมุนไพร อีกทั้งเป็นการสนองต่อนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ในการเพิ่มมูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรภายในประเทศให้เพิ่มมากขึ้น โดยศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ มีการนำเอาผลิตภัณฑ์สมุนไพรมาวางจำหน่าย รวมทั้งสิ้น 265 รายการ ซึ่งการดำเนินการกิจการของศูนย์แห่งนี้ในรูปเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน
นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า ศูนย์แห่งนี้จะเป็นการเพิ่มศักยภาพการแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากเกษตรกรกลุ่มปลูกสมุนไพร จะเป็นการขับเคลื่อนในหลายๆมิติ เช่น มิติเรื่องของเศรษฐกิจ ก่อเกิดรายได้ตั้งแต่ต้นน้ำ(กลุ่มปลูก ผลิต) กลางน้ำ(ผลิตแปรรูป ) และปลายน้ำที่มีการกระจายสู่กลุ่มผู้บริโภค ทำให้เกิดการหมุนเวียนของระบบเงินตรา สร้างเศรษฐกิจ สร้างงาน สร้างอาชี สร้างรายได้มิติของของพืชสมุนไพร ส่งเสริมให้มีการดำรง รักษา ฟื้นฟูไว้ซึ่งพืชสมุนไพรประจำถิ่น และพืชสมุนไพรเศรษฐกิจ
มิติของภูมิปัญญาไทย เป็นการรักษาและต่อยอดภูมิปัญญาที่มีมาแต่ดั้งเดิมเอาไว้ไม่ให้สูญหาย และให้คงอยู่ชั่วลูกชั่วหลานต่อไป มิติในเรื่องของสุขภาพ ก่อเกิดการดูแลสุขภาพแบบการพึ่งพาตนเอง โดยใช้
พืชสมุนไพรที่เป็นธรรมชาติภายในประเทศแทนการใช้ยาที่เป็นสารสงเคราะห์ที่สั่งจากต่างประเทศ
นับได้ว่าการได้รับงบประมาณก่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าฯ แห่งนี้ จะก่อเกิดประโยชน์ให้แก่พี่น้องประชาชนในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงประชาชนในชาติในโอกาสข้างหน้าต่อไป////
ภาพ / ข่าว ศิริเกษ หมายสุข ผู้สื่อข่าวประจำ จ.ศรีสะเกษ