เพชนบุรี-“อลงกรณ์”ลงพื้นที่ตรวจความพร้อมชลประทานในการเตรียมรับมือน้ำท่วมที่อาจเกิดขึ้น โดยระดมเครื่องจักร-เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ พร้อมติดตั้ง  

 

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 กันยายน  พ.ศ.2565  ที่วัดเขาตะเครา ตำบลบางครก อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ตรวจการเตรียมความพร้อมติดตั้งเครื่องจักร-เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ  ของชลประทานจังหวัดเพชรบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อบง เพื่อเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์ฝนตกหนักในช่วงฤดูฝน   ปี 2565   ทั้งนี้ชาวจังหวัดเพชรบุรีจะได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำท่วมในช่วงระหว่างเดือนกันยายน – ตุลาคมของทุกปี ในปีนี้ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการณ์ระหว่างลงพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีว่าในปี้ห้ามมีปัญหาน้ำท่วมท่วมในพื้นที่จังหวัดเพชรบุเด็ดขาดโดยให้กรมชลประทานประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมการป้องกัน ชลประทานจังหวัดเพชรบุรี พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวเตรียมพร้อมติดตั้งเครื่องจักร-เครื่องมือ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องผลักดันน้ำ เพื่อรองรับสถานการณ์  นอกจากนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังลงพื้นที่บริเวณมัสยิดมุสลีฮะตุ้ลอิสลามียะห์  หมู่ที่ 13 ตำบลบ้านกุม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  เพื่อดูการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์น้ำท่วม
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่ากรมชลประทานโดย สำนักงานชลประทานที่ 14 รวมทั้ง ชลประทานจังหวัดเพชรบุรี โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเพชรบุรี ตลอดจนหน่วยเครื่องจักรกล ได้ระดมเครื่องมือเครื่องจักรกล ยานพาหนะ เครื่องสูบน้ำ เครื่องดันน้ำ ตามนโยบายของด็อกเตอร์เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ได้มอบนโยบายให้ดำเนินการป้องกันอุทกภัยโดยเฉพาะในจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์เป็นการทำงานเชิงรุกล่วงหน้า วันนี้ที่จังหวัดเพชรบุรี ได้มีการนำเครื่องจักรกลมาที่ตำบลบางครก จะได้ทำงานร่วมกับทางนายกองค์การบริหารส่วนตำบลบางครก กำนันบางครก ตลอดจนผู้บริหารผู้ใหญ่บ้านแล้วก็หน่วยงานชลประทานในพื้นที่เพื่อที่จะเตรียมการไว้รับมือกับภาวะน้ำล้นน้ำหลากหรือว่าน้ำท่วมอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีซึ่งส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นช่วงเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน ดังนั้นการเตรียมความพร้อมตรงนี้ได้เริ่มมาเกือบ 2 เดือน ตั้งแต่การขุดลอกคลองธรรมชาติคลองส่งน้ำเช่นคลองดี 25 คลองดี 18 เป็นต้น ในการช่วยกำจัดผักตบชวาและวัชพืชสิ่งกรีดขวางทางน้ำซึ่งก็ดำเนินการไปได้ลุร่วงในคลองซึ่งคิดว่าจะเป็นปัญหาต่อการระบายน้ำเวลาน้ำหลากน้ำล้นมาทางแม่น้ำเพชรบุรี พร้อมกันนั้นเราก็ใช้ระบบชลประทานอัจฉริยะ ที่ทางกรมชลประทานได้ใช้ในการบริหารจดชัดการน้ำ โดยจะมีการสื่อสารแจ้งเตือนภาวะของน้ำฝน และสภาวะความจุแล้วก็ประมาณการระบายตั้งแต่เขื่อนแก่งกระจานเขื่อนห้วยผากเขื่อนแม่ประจันต์ จนมาถึงจุดบริหารจัดการน้ำที่ใหญ่ที่สุดก็คือเขื่อนเพชร นั่นคือสิ่งที่เราได้เตรียมความพร้อม ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำก็เชื่อว่าด้วยการทำงานล่วงหน้าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยกรมชลประทาน ทางท้องถิ่นท้องที่จะได้ร่วมแรงร่วมใจกันสุดท้ายก็คือการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในเรื่องของชลประทานโดยล่าสุดเพชรบุรีเป็นจังหวัดแรกที่มีการ Kick off กลไกลใหม่ที่สุดของประเทศไทยคือคณะกรรมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนระดับตำบล ก็แต่งตั้ง  93 ตำบลใน 8 อำเภอของจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งผมกับท่านผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้ให้แนวนโยบายข้อแนะนำแนวทางให้กับอบต.รวมทั้งนายอำเภอ ปลัดอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล รวมทั้งในส่วนของอาสาสมัครเกษตรหนึ่งโครงการที่สำคัญที่เป็นภารกิจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดดังกล่าวก็คือโครงการชลประทานชุมชน เช่นอย่างบางครกมี 12 หมู่บ้าน เราก็ประสบปัญหาซ้ำซากในเรื่องของน้ำท่วมน้ำขังเพราะมีทั้งที่ตำที่สูงแล้วก็เป็นพื้นที่การเกษตรการ รวมทั้งการทำประมงน้ำจืดด้วย มีการเลี้ยงปลาสลิด ดังนั้นเวลาที่เกิดปัญหาน้ำท่วมบางครกก็จะรับผลกระทบมากเพราะว่าเป็นพื้นที่ตำบลซึ่งมีแม่น้ำเพชรบุรีไหลผ่านกลางตำบล ในส่วนของโครงการชุมชนทั้ง 12 หมู่บ้าน โดยกรรมการชุดนี้ก็จะมาวางแผนวางผังการแก้ไขปัญหาทั้งเฉพาะหน้า ระยะยาว โดยมีกรมชลประทาน แล้วก็ในพื้นที่จะมี ชป.14 ชลประทานจังหวัด แล้วก็โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาในการที่จะเป็น โค้ช เพื่อให้คำแนะนำในการวางแผนปฏิบัติการในการแก้ไขปัญหาระบบน้ำและพัฒนาระบบน้ำอย่างยั่งยืนเพื่อการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคด้วยน้ำเพื่อการเกษตรเป็นต้นแล้วก็จะเป็นตัวอย่างของเพชรบุรีโมเด็ลที่กำลังถ่ายทอดไปทั่วประเทศก็หวังว่าภารกิจในวันนี้ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการให้เห็นถึงตัวอย่างแนวทางการบริหารจัดการแบบใหม่เชิงรุกที่บูรณาการทุกภาคส่วนต้องขอบคุณชลประทาน แล้วก็ขอบคุณในส่วนของนายก อบต. ท่านกำนันบางครกท่านรองนายก อบต.ตลอดจนทีมงานเพชรบุรีโมเด็ล มีงานคณะที่ปรึกษารัฐมนตรีทุกคน ที่ได้มาเดินหน้าเรื่องนี้ไม่ใช้เป็นกิจกรรมเหมือนในอดีต ครั้งนี้เป็นการส่งสัญญาณของปรากฏการการจัดการบริหารแบบใหม่ แล้วเพชรบุรีก็จะเป็นตัวอย่าง จะรีบทำแนวทางอย่างนี้ให้ทุกจังหวัดได้เดินหน้า