อบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มมูลค่าข้าวสมุนไพร ภายใต้กิจกรรมโครงการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย  

อบรม พัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มมูลค่าข้าวสมุนไพร ภายใต้กิจกรรมโครงการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย

วันที่ 26 ส.ค.2565 เวลา 8.30 น. นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิด”โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ข้าวสมุนไพรและการจัดจำหน่ายข้าว” ณ องค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้  อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วย นายสมเกียรติ สุขธนะ ที่ปรึกษาพิเศษนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี นายนัฐพล เรืองเศรษฐี สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี อำเภอกุมภวาปี เขต 1 นางสาวรัชนีวรรณ เจริญชัย ผู้อำนวยการกองการท่องเที่ยวและกีฬา ผศ.นวรัตน์ บุญภิละ รองผู้อำนวยการสำนักวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ร.ต.ยุทธชัย โคสาดี อาจารย์กลุ่มสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี นายเสริมศักดิ์ ปัญญาใส นายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ นายประสิทธิ์ พรมมาตย์ นายสมวงศ์ วงศ์อารี รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ นางวงเดือน ขันตีกุล เลขานุการนายกองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ นายวรวุฒิ ขาวสระใคร ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลตูมใต้ หัวหน้าส่วนราชการและประชาชนเข้าร่วมกว่า 50 คน โดยมี ดร.กานต์ณรัน ศรีหมากสุก หัวหน้าโครงการกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจากนางสาวภูมรินทร์ มหาดไทย ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำข้าวเคลือบสมุนไพร ได้ให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ โดยมีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันไวรัสโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

การจัดโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์ข้าวสมุนไพรและการจัดจำหน่ายข้าว ตำบลตูมใต้ อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี ภายใต้กิจกรรมโครงการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย เป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวส่งเสริมอาชีพและสืบสานวัฒนธรรมวิถีชีวิตที่เป็นอัตลักษณ์ของพื้นถิ่นอีสาน ซึ่งร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี  เพื่อส่งเสริมอาชีพและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ผู้ประกอบการรายย่อย เชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาและอื่นๆ โดยมีวัตถุประสงค์คือ
1.เพื่อนำข้าวที่ปลูกในท้องถิ่นมาแปรรูป เป็นการเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่
2.เพื่อเคลือบข้าวที่ปลูกในชุมชน ซึ่งราคาต่ำ ทำให้ข้าวมีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มขึ้น
3.นำพืชสมุนไพรที่มีอยู่ในท้องถิ่น มาใช้ให้เกิดประโยชน์
4.เกิดเป็นอาชีพเสริม สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว กลุ่มแม่บ้านหรือชุมชน

นอกจากนี้คณะวิทยากรยังมีการให้ความรู้เรื่องสายพันธุ์ข้าว ประโยชน์และข้อมูลโภชนาการเบื้องต้นเกี่ยวกับข้าวและผลิตภัณฑ์ รวมถึงเทคนิคการจัดจำหน่ายเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และส่งเสริมให้เกิดความเชี่ยวชาญและเป็นอาชีพในอนาคตต่อไป มีหลักสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์คือวัสดุอุปกรณ์และกรรมวิธีการผลิต ที่เป็นระบบและกระบวนการดังต่อไปนี้ 
1.วัสดุและอปกรณ์ ข้าวสาร(ข้าวกล้อง/ข้าวจ้าว/ข้าวเหนียว) ผงผักผงสมุนไพร น้ำเปล่า แก้วตวง กะละมังขนาด (3 ซม.) ถุงมือ กระด้งสำหรับตากข้าว (ขนาด 27 นิ้ว) ถุงพลาสติกบรรจุข้าวสาร (500 กรัม ขนาด3+4x25 ซม.) บล็อกซีลข้าวสาร เครื่องซีลสูญญากาศ
2.วิธีการทำ 1.นำผงผักมาผสมกับน้ำ โดยผงผัก 10 กรัม/น้ำ 60 มิลลิลิตร 2.นำน้ำผงผักมาคลุกเคล้ากับข้าวสารปริมาณ 1 กิโลกรัม 3.นำไปตากแดดจนข้าวแห้งสนิทบรรจุใส่ถุงพลาสติกชนิดสูญญากาศเพื่อรักษาคุณภาพ


นายวิเชียร ขาวขำ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่าในทุกวันนี้ภาคอีสานมีหลายสิ่งอย่างที่สามารถนำมาเพิ่มมูลค่าได้ แต่เรายังขาดความรู้ความเข้าใจในกระบวนการจัดทำ แต่ว่าวันนี้ถือว่าเป็นความโชคดีที่พ่อแม่พี่น้องทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมจะได้ทราบและน้ำไปปรับใช้ โดยวันนี้เรามีความร่วมมือกับหลายภาคส่วนโดยเฉพาะมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ที่ประสานความร่วมมือมาจัดโครงการให้ความรู้ในวันนี้ เป็นโครงการเชื่อมโยงกับกิจกรรมโครงการอนุรักษ์และพัฒนาควายไทย ด้วยเราเอาสองโครงการมาประยุกต์และต่อยอดคือสามารถนำมูลควายมาใช้เพื่อเป็นปุ๋ยให้อาหารแก่ต้นข้าวให้สวยงามและไร้ซึ่งสารพิษตกค้าง อีกทั้งยังทำให้ผู้รับประทานมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ขออนุญาตยกตัวอย่าง เช่น คุณแม่วันดี ขาวขำ (คุณแม่ท่านนายก อบจ.อด.) ท่านชอบรับประทานอาหารที่ไม่มีสารพิษ ทานผักและผลไม้ที่ไร้สารพิษ ทานปลา เห็ด และอาหารท้องถิ่น จึงทำให้ท่านมีสุขภาพที่ดี อายุท่าน 100 กว่าปี ถือว่าเห็นผลเป็นที่ประจักษ์ว่าการรับประทานอาหารเป็นสิ่งสำคัญกับการดำรงชีวิตเป็นอย่างมาก และเราจะทำอย่างไรที่จะเพิ่มผลผลิตและมูลค่าให้กับสินค้า ประการแรกเราต้องสร้างโลโก้ที่ชัดเจน น่าเชื่อถือ สื่อถึงตัวผลิตภัณฑ์ได้อย่างครอบคลุม ประการที่สองช่องทางสื่อ ที่จะทำการประชาสัมพันธ์ให้กับตัวผลิตภัณฑ์ และสุดท้ายต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากคนในชุมชนช่วยกันผลักดัน และเชื่อมโยงการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ประเพณีภูมิปัญญา วิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นถิ่นอีสานต่อไป

--------------------------------------