สภาองค์กรของผู้บริโภค ร่วมกับ นิด้า และ 6 สถาบันการศึกษาในภูมิภาค จัดเวที ความร่วมมือทางวิชาการในการคุ้มครองผู้บริโภค และความร่วมมือทางวิชาการในการสำรวจความ คิดเห็นและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสภาองค์กรของผู้บริโภค ปี 2565 หวังยกระดับงานนโยบาย ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคทุกด้าน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคทุกคน
วันที่ 3 สิงหาคม 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
และสถาบันการศึกษาในภูมิภาค 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขต
หาดใหญ่ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ และ มหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครปฐม จัดเวทีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการในการคุ้มครองผู้บริโภค และความร่วมมือทาง
วิชาการในการสำรวจความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสภาองค์กรของผู้บริโภค ปี 2565 ณ ห้องนวัต
สิกขาลัย อาคารมาลัยหวะนันท์ ชั้น 5 สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ
นางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการสภาองค์กรของผู้บริโภค กล่าวถึงความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวว่า
ในปีงบประมาณ 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค ได้อนุมัติให้มีการดำเนินงานภายใต้ 5 แผนงาน ประกอบด้วย
1 แผนงานสนับสนุนและดำเนินการคุ้มครองพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค 2) แผนงานพัฒนานโยบายและมาตรการคุ้มครอง
ผู้บริโภค 3) แผนงานสนับสนุนหน่วยงานประจำจังหวัดและองค์กรผู้บริโภค 4) แผนงานสื่อสารเพื่อการคุ้มครอง
ผู้บริโภค และ 5) แผนงานจัดตั้งสำนักงานและพัฒนากำลังคนของสภาองค์กรของผู้บริโภค ทั้งนี้ การรับฟังความ
คิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้กำหนดไว้ภายใต้ยุทธศาสตร์การสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็ง
ผู้บริโภค และองค์กรผู้บริโภค อีกทั้งตามมาตรา 15 ของพระราชบัญญัติการจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562
ระบุว่า สภาองค์กรของผู้บริโภคมีหน้าที่จัดให้มีการประชุมสมาชิกและผู้บริโภคทั่วไปที่สนใจ เพื่อรายงานผลการ
ดำเนินงานของสภาองค์กรผู้บริโภคและรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอันจะเป็นประโยชน์แก่การคุ้มครอง
ผู้บริโภค และการปรับปรุงแก้ไขการดำเนินงานของสภาองค์กรของผู้บริโภค
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการในการสนับสนุนงานการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจนการจัดทำ
สำรวจความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสภาองค์กรของผู้บริโภค สอบ. จึงได้มอบหมายให้นิด้า
ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจที่มีสภาองค์กรของผู้บริโภค ประจำปีงบประมาณ 2565
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยสำรวจความคิดเห็น ประเมินความพึงพอใจ และรวบรวมข้อเสนอแนะจากสมาชิก องค์กร
ผู้บริโภคทั่วไป และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นรายงานเสนอต่อสภาองค์กรของผู้บริโภค รวมถึงสร้าง
เกณฑ์การวิจัยสำรวจความคิดเห็น ประเมินความพึงพอใจ และรวบรวมข้อเสนอแนะร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในส่วน
ภูมิภาค ตลอดจนสร้างความตระหนัก และการมีส่วนร่วมในการคุ้มครองผู้บริโภค ร่วมกับหน่วยงานวิชาการในแต่ละ
ภูมิภาค เพื่อประโยชน์ในการพัฒนางานคุ้มครองผู้บริโภคให้เทียบเท่าสากล
ด้าน รศ.ดร. สมบัติ กุสุมาวลี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการนานาชาติ นิด้า กล่าวถึง รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ซึ่งได้บัญญัติให้สิทธิแก่ประชาชน ตามมาตรา 46 ที่ระบุว่า "สิทธิของผู้บริโภคย
อมได้รับความคุ้มครอง บุคคลย่อมมีสิทธิรวมกันจัดตั้งองค์กรของผู้บริโภคเพื่อคุ้มครอง และ พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค
และองค์กรของผู้บริโภคดังกล่าว มีสิทธิรวมกันจัดตั้งเป็นองค์กรที่มีความเป็นอิสระ เพื่อให้ เกิดพลังในการคุ้มครอง
และพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภค โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ" และต่อมาได้มีการประกาศ พ.ร.. การจัดตั้งสภาองค์กร
ของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 ขึ้น รองรับสิทธิดังกล่าว จนได้ก่อให้เกิดการจัดตั้ง สภาองค์กรของผู้บริโภคแล้ว เมื่อวันที่ 5
ธันวาคม 2563 ตาม พ.ร.บ.การจัดตั้งสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2562 มาตรา 10 กำหนดให้สภาองค์กรของผู้บริ
โภค เป็นนิติบุคคลที่มีความเป็นอิสระ มีวัตถุประสงค์เพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคในทุกด้าน และทำหน้าที่เป็นตัวแทน
ของผู้บริโภคทุกคน เพื่อให้ความคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค เสนอแนะนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริ
โภคต่อหน่วยงานภาครัฐ ตลอดจนติดตาม ตรวจสอบ เฝ้าระวังและเตือนภัยให้กับผู้บริโภค รวมทั้งสนับสนุนและช่วย
เหลือองค์กรของผู้บริโภคในการรักษาประโยชน์ของผู้บริโภค สภาองค์กรของผู้บริโภค ถือเป็นนวัตกรรมทางสังคม
รูปแบบใหม่ของการคุ้มครองผู้บริโภค ที่จัดตั้งขึ้นโดยองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคทั่วประเทศ ที่มีส่วนร่วมใน
การผลักดันมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน
นิด้า ในฐานะที่ได้รับมอบหมายจาก สอบ. ให้ดำเนินการออกแบบขั้นตอน วิธีการ กำหนดกลุ่มเป้าหมายและ
วิธีการรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง 3 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) สมาชิกสภาองค์กรผู้บริโภค จำนวนไม่น้อยกว่า 250
องค์กร โดยทำงานร่วมกับสถาบันอุดมศึกษาในภูมิภาค รวบรวมข้อมูลด้วยวิธี Focus Group 2) ผู้บริโภคทั่วไปที่ใช้
บริการและ/หรือสนใจในประเด็นการคุ้มครองผู้บริโภค 8 ประเด็นทั่วประเทศ ประกอบด้วย 1.ด้านการเงิน การ
ธนาคาร เช่น การทวงหนี้เงินกู้ 2.ด้านสินค้าและบริการ เช่น การซื้อสินค้าออนไลน์ 3.ด้านบริการสุขภาพ เช่น ค่า
รักษาพยาบาลแพง 4.ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ เช่น ยาปลอม 5.ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย เช่น
การเรียกร้องกรณีบ้านทรุด บ้านร้าว 6.ด้านสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ค่าโทรศัพท์เรียกเก็บ
เกินจริง 7.ด้านขนส่งและยานพาหนะ เช่น รถไฟฟ้า รถขนส่งสาธารณะ และ 8.ด้านบริการสาธารณะ พลังงานและ
สิ่งแวดล้อม เช่น ค่าน้ำมันแพง โดยรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามออนไลน์ จำแนกตามภูมิภาค 7
ภูมิภาค และ 3) กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง ทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาคเอกชน ทั้งที่เป็น
เครือข่าย และเป็นหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบจากสภาองค์กรผู้บริโภค รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-
depth Interview)
นอกเหนือจากดำเนินการภายใต้โครงการสำรวจความคิดเห็นและประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสภาองค์กร
ของผู้บริโภค ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 แล้ว นิด้า และสถาบันการศึกษาทุกฝ่ายยินดีให้ความร่วมมือในการ
สนับสนุนด้านวิชาการเพื่อการดำเนินงานในการคุ้มครองผู้บริโภค อันจะเป็นประโยชน์ต่อการคุ้มครองผู้บริโภค
ร่วมกับ สอบ. ทั้งนี้ อาจสนับสนุนทรัพยากรต่าง ๆ เท่าที่จำเป็นร่วมกัน อาทิ การสนับสนุนบุคลากร วิทยากร
แพลตฟอร์ม การทำโพลสำรวจความคิดเห็น การทำวิจัย การทดสอบคุณภาพสินค้าหรือบริการ การเผยแพร่ข้อมูลที่
เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค หรือทักษะทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ เพื่อประโยชน์ในการยกระดับงานนโยบายด้าน
การคุ้มครองผู้บริโภคทุกด้าน และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภคทุกคน