แจ้งความ ตร.เมืองอุดรธานี 1 ปี คดีไม่คืบ เตือนภัยประชาชนอย่าตกเป็นเครื่องมือ แอดมิน “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย” ไร้สำนึก ไร้ความรับผิดชอบ   

 


              ตามที่มีข่าวดังเมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม  2564   “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย”  ได้สร้างข่าวปลอม ใส่ร้ายบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน โดยใส่รูปภาพ บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน พร้อมข้อความบนภาพว่า “เตือนภัย อ้างเป็น ป.ป.ช. เรียกรับเงิน  3 แสน” โดยที่ไม่ได้แสวงหาความจริง   ทำให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน เสียหาย ถูกดูหมิ่นเกียจชัง จากบุคคลที่ได้พบเห็นข้อความดังกล่าว  เสื่อมเสียชื่อเสียงเกียรติยศ ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือในการปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชน   
              เนื่องจากมีบุคคลที่ไม่หวังดี “ปลอมแปลงไลน์ใส่ร้าย บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน” และได้แคบหน้าจอส่งเข้ามาในไลน์กลุ่มโอเพ่นแชท “ชมรม STRONG ประเทศไทย” และ ในไลน์กลุ่มโอเพ่นแชท “ชมรม STRONG ภาคอีสาน”    ซึ่งทางบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน แจ้งความไว้ที่สถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี  ครบหนึ่งปีคดียังไม่คืบหน้า 
             กระบวนการสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจล่าช้ามาก  เป็นเหตุทำให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ คู่แผ่นดิน ยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัดอุดรธานี หลายสิบคดี เพื่อต้องการให้ความจริงปรากฏ เพื่อต้องการให้ทุกท่านที่ได้แชร์ข่าวปลอมและคอมเม้นท์ทำให้เกิดความเสียหายเป็นวงกว้างนั้นได้ทราบว่า ข่าวที่ทุกท่านแชร์และคอมเม้นท์กันอย่างเมามันสนุกสนานนั้นเป็นข่าวปลอม  และต้องการให้  แอดมิน “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย”  และแอดมิน “ชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสาน”  ออกมารับผิดชอบการกระทำดังกล่าวด้วย  เนื่องจากแอดมินเพจทั้งสองใช้ “เฟสบุ๊ค อวตาร” ผู้เสียหายจึงได้ดำเนินการฟ้องลูกเพจทั้งสองดังกล่าวไปเรื่อยๆ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปทราบว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม และให้ลูกเพจและประชาชนทราบถึงพฤติกรรมของแอดมินทั้งสองเพจว่าเป็นบุคคลที่มีความรับผิดชอบต่อผู้ได้รับผลกระทบจากข่าวปลอมที่แอดมินเพจสร้างมาหรือไม่ ทั้งผู้ที่กระทบจากข่าวปลอม และลูกเพจที่ถูกฟ้อง  และเลิกเชื่อถือเพจที่สร้างความเดือดร้อน สร้างความสับสนให้กับสังคม อย่างเช่นเพจ “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย”  และเพจ “ชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสาน”  และสิ่งที่น่าเสียใจก็คือบุคคลทั่วไปที่แชร์ข่าวและคอมเม้นท์กันอย่างเมามันและสนุกสนานนั้น ก็มีบุคคลระดับปัญญาชนจำนวนมากที่แชร์ข่าวปลอมดังกล่าวออกไปโดยไม่แสวงหาข้อเท็จจริง มีทั้ง เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. , ทนายความ , ข้าราชการ และสื่อมวลชน   
              จากนั้นสื่อมวลชนได้เข้าสอบถามเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. สนามบินน้ำ,  เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ภาค 4 ขอนแก่น , เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช.ประจำจังหวัดอุดรธานี  ทราบว่า “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย”  และ “ชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสาน”  ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสำนักงาน ป.ป.ช. เป็นเพียงเอกชนที่ตั้งขึ้นมาเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสำนักงาน ป.ป.ช.    
             “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย”  และ “ชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสาน”   ต้องการให้ประชาชน รวมถึงข้าราชการ และบุคคลทั่วไปให้เข้าใจว่า “ชมรม STRONG ต้านทุจริตประเทศไทย”  และ “ชมรม STRONG ต้านทุจริตภาคอีสาน” เป็นของหน่วยงานสำนักงาน ป.ป.ช.  จึงได้ใช้โลโก้ ป.ป.ช. วางไว้บนเพจเฟสบุ๊คเพื่อเรียกความน่าเชื่อถือให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปเข้าใจว่าเป็นองค์กรของรัฐ  สื่อมวลชนจึงได้ยื่นหนังสือส่งถึง หน่วยงานสำนักงาน ป.ป.ช.ให้เข้าแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวนแล้ว และสื่อมวลชนก็จะติดตามผลการดำเนินการของสำนักงาน ป.ป.ช.  และ ความคืบหน้าของคดีต่อเจ้าพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี เพื่อแจ้งให้ประชาชนทราบต่อไป