การบริหารจัดการสหกรณ์ด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  

 

   หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชการที่ 9 ได้พระราชธานไว้ให้เหล่า พสกนิกร ทั่วไปได้นำไปเป็นแนวทางในการดำรงชีวิตอยู่และปฏิบัติตนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัวระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจให้ก้าวทันยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึง ความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ความรอบคอบและความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอนและขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจรผู้ทำธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรมความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสมดำเนินชีวิตด้วยความอดทนความเพียรมีสติปัญญาและรอบคอบเพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุสังคมสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

สหกรณ์เป็นองค์กรในรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นโดยการ ร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ กันของเหล่าสมาชิกเพื่อดำเนินการแล้วนำองค์กร พัฒนาไปสู่ความกินดีอยู่ดี โดยดำเนินงานตามหลักการ อุดมการและวิธีการของสหกรณ์ ซึ่งหากมีการบริหารจัดการโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้วจะนำไปสู่ การพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการสหกรณ์นั่นจะต้องคำนึงถึงหลัก สามห่วง สองเงื่อนใขดังนี้

ความพอประมาณ  การดำเนินการต้องยึดหลักความพอดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น คำนึงถึงทรัพยากรที่มีอยู่ ใช้อย่างคุ้มค่า มีประสิทธิภาพ พัฒนาบุคลากรให้ทำงานด้วยความเชี่ยวชาญและเต็มศักยภาพ

ความมีเหตุผล   การบริหารงานด้านต่างๆ ต้องมีการศึกษาและวางแผน อย่างรอบคอบ  พัฒนางานด้านต่างๆ ให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว เกิด การบริการที่ดี และมีประสิทธิภาพ  ติดตามผลและพัฒนาปรับปรุงนโยบาย ทั้งในระยะสั้น ระยะยาว เพื่อให้เกิดความสมดุลและยั่งยืน

ภูมิคุ้มกันที่ดี   สร้างความเข้มแข็งในองค์กร โดยใช้ระบบการบริหาร จัดการที่ดี ให้ความรู้แก่บุคลากร เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งในการ รับมือกับปัญหา ติดตามประเมินผลงานและแก้ไขอย่างเป็นระบบ

เงื่อไขความรู้  ส่งเสริมและพัฒนาความรู้ของบุคลากร เพื่อนำความรู้มา ใช้สนับสนุนระบบการทำงาน เช่น การศึกษาดูงาน การฝึกอบรม ฯลฯ  ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ หลากหลาย และทั่วถึง แก่สมาชิก

เงื่อนไขคุณธรรม ดำเนินงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาล เสริมสร้างระบบคุณธรรมในการบริหารงาน บริหารคนเสริมสร้างวัฒนธรรมที่ดีขององค์กรในการอยู่ร่วมกัน มุ่งให้เห็นถึงประโยชน์ส่วนรวม สร้างเสริมความสามัคคี ความเพียร และความซื่อสัตย