เตรียมคนเข้า New S- Curve อบจ.ร่วม สอน.4 มทร.ล้านนา พระนครเหนืแ สมาคมเครื่องมือตัดไทย พบปะผู้บริหาร อาชีวะ เทคนิค เกษตร 4 จังหวัด และสวนกุหลาบ   

 

เมื่อเวลา 13:00 น วันที่ 18 มิถุนายนนี้ ที่ห้องประชุมชั้น 3 สำนักงานสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 นายสุนทร ทองใส นายกสภาสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 เป็นประธานในการ ประชุมสัมมนา เรื่อง "การพัฒนากำลังคนเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New s-curve) บนความร่วมมือองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์และสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4" เป็นการสัมมนาความร่วมมือทางวิชาการ การจัดการศึกษาระหว่างภาคอุดมศึกษา ภาคการศึกษาในท้องถิ่น ร่วมกับภาคผู้ประกอบการ สมาคมเครื่องมือตัดไทย เพื่อสร้างโอกาสในการศึกษาระดับปริญญาของเยาวชนและพัฒนาประเทศด้านเทคโนโลยีอัตโนมัติในอนาคต

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย นายสมคิด บุญเทวี ผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 พร้อมคณะรองผู้อำนวยการ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการสำนักในสังกัดสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4 และมีคณะผู้บริหารจาก วิทยาลัยเทคนิค วิทยาลัยอาชีวะศึกษา วิทยาลัยการอาชีพ วิทยาลัยสารพัดช่าง วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีจาก 4 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี พร้อมด้วย นายสันติ จันทร์เผิบ รองปลัด อบจ.นครสวรรค์ และรองผู้อำนวยการโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย(จิระประวัติ)

นอกจากนี้ยังมีคณะวิทยากรผู้ร่วมโครงการประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เต็มสิริ ทรัพย์สมาน รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิวัตร มูลปา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และฝ่ายเอกชน จากสมาคมเครื่องมือตัดไทย ผู้ให้การสนับสนุนโครงการประกอบด้วย นายจตุรงค์ พิศุทธ์สินธ์ นายกสมาคมเครื่องมือตัดไทย นายวรินทร์ รอดโพธิ์ทอง ที่ปรึกษาสมาคมเครื่องมือตัดไทย ที่ปรึกษาสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สำนักงานเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม นายวิทยา พลเพชร นายประพล สันตะโยภาส กรรมการสมาคมฯ นายสมชาย จักรกรินทร์ ผู้อำนวยการสถาบันไทย-เยอรมัน โดยมีนายศุภกาล ตุ้ยเต็มวงศ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เป็นผู้ประสานงานและดำเนินการในการสัมมนา

โดยในการสัมมนามี นายวรินทร์ รอดโพธิ์ทอง กล่าวถึงเหตุผลและความจำเป็นที่ต้องมีการจัดเตรียมกำลังคน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย (New S-Curve) ซึ่งเป็นการใช้ระบบอัตโนมัติหรือ Center of Robotic Excellence ซึ่งใช้ในภาคอุตสาหกรรมทุกชนิด เพราะในอนาคตในระบบอุตสาหกรรมจะมีการใช้เทคโนโลยีทันสมัยชั้นสูงเข้ามาในการดำเนินการ โดยเฉพาะในต่างประเทศ เช่น ยุโรป อเมริกา ไต้หวันญี่ปุ่นและจีน มีการใช้ AI-Robot กันมาก ซึ่งทาง TARA หรือ Thai Automation Robotic Association จะต้องมีการจัดเตรียมเพื่อทำให้นักเรียนนักศึกษามีความเป็นมืออาชีพในอนาคต เพื่อรองรับระบบเทคโนโลยีที่จะเข้ามาสู่ในระบบอุตสาหกรรมของไทย ซึ่งในประเทศไทยยังมีบุคลากรด้านนี้อยู่น้อย

รองผู้ช่วยศาสตราจารย์ดรเต็มสิริทรัพย์สมานกล่าวว่าการจัดทำหลักสูตรควรจะต้องสอดคล้องกับทิศทางของอุตสาหกรรมในพื้นที่เพื่อจะได้พัฒนาภูมิภาคให้ตรงกับความต้องการโดยพัฒนาคนในพื้นที่เพื่อกลับมาทำงานในพื้นที่ของตนเองไม่ใช่เป็นการพัฒนาคนเพื่อไปทำงานที่อื่น และในการพัฒนาคนควรมีทั้งหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรระยะยาว รวมทั้งเป็นความร่วมมือระหว่าง สถาบันการอาชีวศึกษาสถาบันด้านมัธยมศึกษาร่วมกับ Center of Robotic Excellence อาจจะมีใบรับรองใบประกาศหรือจัดเป็น Credit bank แบบ Non-degree และควรจัดให้เป็นการศึกษาทั้งทางด้านทฤษฎีและมีการลงมือปฏิบัติจริง

ทางด้านสมาคมเครื่องมือตัดไทย นายวิทยา พลเพชร กล่าวถึงหลักสูตรนี้ว่า เด็กรุ่นใหม่ควรต้องเรียนรู้ในเรื่องของ Big Data, Data Design, AR, VR, AI  ไม่ใช่เรียนตามหนังสืออย่างเดียว ต้องมีการฝึกปฏิบัติจริง เมื่อเรียนจบสามารถทำงานได้ทันที เพราะในอนาคตจะเป็นระบบอุตสาหกรรมยุค 5.0 จะเริ่มในปี 2025 ซึ่งใกล้เข้ามาแล้ว ในยุค 5.0 AI จะทำงานเอง สั่งของเอง เป็นระบบที่ AI มีการพูดคุยกันเอง รวมทั้งมีการออกแบบหน้าจอเอง ซึ่งในหลายประเทศมีการศึกษาในเรื่อง python coding ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา ทางสมาคมเครื่องมือตัดไทยพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในหลักสูตรเหล่านี้ เพราะเครื่องมือตัดเป็นพื้นฐานของการผลิตสินค้าทางด้านอุตสาหกรรมทุกชนิดไม่ว่าจะเป็น เครื่องบิน รถยนต์เครื่องมือแพทย์ หรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
////