วันที่ 5พฤษภาคม 2565 ที่หอประชุมเทศบาลตำบลนางั่วอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
วันที่ 5พฤษภาคม 2565 ที่หอประชุมเทศบาลตำบลนางั่วอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์
เวลา13.30 น.ได้มีการประชุมปัจฉิมนิเทศ โครงการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากอ่างเก็บน้ำนางั่วจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมีนายสมบัติ มีลักษณะสม ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน เป็นประธานในพิธี กล่าวว่าราษฎรตำบลนางัวอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์ประสบปัญหามีแหล่งน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตรไม่เพียงพอ อีกทั้งในช่วงฤดูฝนพื้นที่การเกษตรและชุมชนในเขตตำบลนางั่วจะได้รับผลกระทบจากน้ำหลากที่มาจากพื้นที่ต้นน้ำราษฎรในพื้นที่จึงประสานหน่วยงานราชการผ่านทางผู้แทนราษฎรเพื่อขอความช่วยเหลือ โดยมีหนังสือมาถึงกรมชลประทานเมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2539 ขอให้สำรวจและจัดทำโครงการอ่างเก็บน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
.จากการสำรวจพื้นที่หัวงานและอ่างเก็บน้ำบางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ชั้นคุณภาพลุ่มน้ำชั้นที่ 1ประมาณ 78 ไร่จึงเป็นโครงการที่เข้าข่ายประเภทและขนาดโครงการที่จะต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในประกาศราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2562 เสนอต่อสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานและประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้านพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อรายงานและประกอบการพิจารณาอนุญาตใช้พื้นที่ก่อสร้างตามขั้นตอน
...ดังนั้นกรมชลประทานจึงได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาประกอบไปด้วยบริษัท มหานครคอนซัลแตนท์จำกัด และ บริษัท เอ็นแคต คอนซัลแตนท์ จำกัด ให้ดำเนินการศึกษาโครงการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อมอ่างเก็บน้ำนางั่ว หลังจากนั้นได้มอบให้นายสุรชาติ มาลาศรี ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการและผลกระทบจากการสำรวจครั้งที่ 1 และ 2และได้มีการค้นพบว่ามีผู้ที่ได้รับผลกระทบตกหล่นเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยจึงได้จัดให้มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกครั้ง และสอบถามประชาชน ถึงผลกระทบและผลประโยชน์ที่จะได้รับและได้ให้มีการตอบแบบสอบถามกับประชาชนชาวตำบลนางั่วที่มาร่วมประชุม และจากการที่สื่อมวลชนที่มาร่วมทำข่าวในครั้งนี้ได้สอบถามกับชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างอ่างเก็บน้ำนางั่วครั้งนี้ ส่วนใหญ่ตอบว่าได้รับประโยชน์จากการสร้างอ่างเก็บน้ำในครั้งนี้ เช่นจะทำให้น้ำไม่ท่วม ทำให้มีน้ำใช้ในด้านการเกษตรและอุปโภคบริโภค และชาวบ้านได้นำเสนอหลังจากที่ห่างเก็บน้ำได้สร้างเสร็จแล้วอยากให้มีการทำโครงการแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เนื่องจากอ่างเก็บน้ำลูกนี้อยู่ในพื้นที่ ที่เป็นทางผ่านขึ้นเขาค้อ กรมชลประทานได้รับปากว่าจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมด้วย
ในการประชุมปัจฉิมนิเทศครั้งนี้ได้มีการตรวจวัดอุณหภูมิและฉีดพ่นแอลกอฮอล์ ก่อนลงทะเบียนเข้าประชุม