อำเภอเมืองหนองบัวลำภู ร่วมกับศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหนองบัวลำภู ขับเคลื่อนการสร้างเครือข่ายการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยตัวชั่วคราวเพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของเยาวชน :
วันที่ 2 พฤษภาคม 2565 เวลา 09.00 - 12.30น.นายประยูร อรัญรุท นายอำเภอเมืองหนองบัวลำภู พร้อมด้วยนายบุญรัตน์ จูอี้ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดหนองบัวลำภู และคณะฯ ได้อธิบายแนวทางการปฏิบัติให้กับหัวหน้าส่วนราชการในอำเภอ กำนัน และผู้ใหญ่บ้าน ในการแก้ไขบำบัดฟื้นฟูเด็ก เยาวชน และครอบครัว ผู้กระทำความผิด โดยได้อธิบายให้เข้าใจถึงแนวทางและกระบวนการแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู บทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวและการติดตามสอดส่องเด็ก เยาวชน และครอบครัวให้ปฏิบัติตามแผนแก้ไข บำบัด ฟื้นฟู ของศาลโดยได้เผยแพร่ความรู้ด้านกฎหมายเกี่ยวกับเรื่องการแต่งตั้งผู้กำกับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวโดยศาลตามพระราชบัญญัติมาตรการกำกับและติดตามจับกุมผู้หลบหนีการปล่อยชั่วคราวโดยศาล พ.ศ. ๒๕๖๐ ระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยคุณสมบัติ ลักษณะต้องห้าม การแต่งตั้งและการปฏิบัติหน้าที่ของผู้กํากับดูแลผู้ถูกปล่อยชั่วคราวฯ พ.ศ. ๒๕๖๑ และเรื่องการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีครอบครัว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๒๐ ตรี ซึ่งเป็นการสร้างการรับรู้ในเชิงพื้นที่
นอกจากนั้นได้ประชุมชี้แจงแนวทางปฎิบัติงานในเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่ ในเรื่อง 1) การขจัดปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มุ่งเป้าตาม TPmap จำนวน 77 ครัวเรือน และปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอื่นๆที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้ ตาม Thai QM ,2)การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , 3)การขับเคลื่อนกิจกรรมจิตอาสา(ภัยพิบัติ, พัฒนา,เฉพาะกิจ) 4)การแก้ไขปัญหายาเสพติด, 5)การรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี, 6)การบริหารจัดการขยะในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โดยเฉพาะถังขยะเปียก,7)รณรงค์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน, 8) การรับสมัครกองทุนออมแห่งชาติ(กอช.) ,9)การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนโดยการขับเคลื่อนโครงการ” บอกดิน 3” , 10)การขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้านพืช ด้านปศุสัตว์ และ 10)การประกาศแจ้งเตือนภัยพิบัติในพื้นที่และการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ
นอกจากนั้นได้ประชุมชี้แจงแนวทางปฎิบัติงานในเชิงพื้นที่เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์และรับทราบปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ ซึ่งการขับเคลื่อนในเชิงพื้นที่ ในเรื่อง 1) การขจัดปัญหาความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นการพัฒนาที่มุ่งเป้าตาม TPmap จำนวน 77 ครัวเรือน และปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนอื่นๆที่ไม่สามารถแก้ไขด้วยตนเองได้ ตาม Thai QM ,2)การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 , 3)การขับเคลื่อนกิจกรรมจิตอาสา(ภัยพิบัติ, พัฒนา,เฉพาะกิจ) 4)การแก้ไขปัญหายาเสพติด, 5)การรณรงค์ลดอุบัติเหตุทางถนนตลอดทั้งปี, 6)การบริหารจัดการขยะในชุมชนร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่โดยเฉพาะถังขยะเปียก,7)รณรงค์การสวมใส่ผ้าไทยเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน, 8) การรับสมัครกองทุนออมแห่งชาติ(กอช.) ,9)การแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินของประชาชนโดยการขับเคลื่อนโครงการ” บอกดิน 3” , 10)การขึ้นทะเบียนเกษตรกรด้านพืช ด้านปศุสัตว์ และ 10)การประกาศแจ้งเตือนภัยพิบัติในพื้นที่และการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ