ประชุม ม.ราชภัฏ นายก อบจ.นครสวรรค์ เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏนครสวรรค์ ครั้งที่ 4/2565  ผ่านระบบออนไลน์   

 

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 9 มีนาคม 2565  ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์  พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์  นายก อบจ.นครสวรรค์  เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการประจำคณะฯ ครั้งที่ 4/2565  ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.สุชาติ แสงทอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏนครสวรรค์ พร้อมด้วยคณะอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งประชุมในรูปแบบออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Google Meet

โดยมีระเบียบวาระการประชุม ดังนี้
ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
1.1 ขอแสดงความยินดีแก่คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำคณะ 3 ราย
ระเบียบวาระที่ 2  เรื่องรับรองรายงานการประชุม พิจารณารับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ 3/2565
ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่อง  -ไม่มี-
ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องเสนอเพื่อทราบ
4.1 โครงการ MOU สหกิจศึกษาระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์กับสถานประกอบการ
4.2 สรุปผลจำนวนผู้สมัครเรียนปีการศึกษา 1/2565
ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องเสนอเพื่อพิจารณา
5.1 การพิจารณาอนุมัติผลการเรียน
5.2 พิจารณาข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ
5.2.1 ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ ภาคปกติ
ภาคเรียนที่ 1/2565 สาขาวิชาดนตรี
5.2.2 ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ ภาคปกติ
ภาคเรียนที่ 1/2565 สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
5.2.3 ข้อมูลพื้นฐานประกอบการพิจารณาแต่งตั้งอาจารย์พิเศษ ภาคปกติ
ภาคเรียนที่ 1/2565 สาขาวิชานิติศาสตร์
ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่น ๆ (ถ้ามี)
6.1 ระดมความคิดเห็นแนวทางการจัดงาน 100 ปี ม.ราชภัฏนครสวรรค์​ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

จากการที่ อบจ.นครสวรรค์ ร่วมกับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ม.ราชภัฏนครสวรรค์ จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก เพื่อสร้างองค์ความรู้ และเพื่อแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาความยากจน โดยยึดแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

นายก อบจ.นครสวรรค์ ได้กล่าวว่า "อบจ.ในฐานะผู้ปฏิบัติและใกล้ชิดประชาชน และได้ร่วมกับทางม.ราชภัฏนครสวรรค์ จัดทำโครงการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตสำหรับชุมชนซึ่งเป็นโครงการที่ดี  โดยต่อไปเราก็จะเตรียมการเพื่ออนาคต วางแผนไว้ว่าจะทำอย่างไรเพื่อผลักดันให้การศึกษามีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงให้ทันโลกมากขึ้น ซึ่งเราควรพัฒนาหลักสูตรที่สามารถใช้ได้ในชุมชน  เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มสำหรับชุมชน สามารถแก้ไขปัญหาในปัจจุบันที่เกิดขึ้น  เพื่อวางรากฐานในอนาคต และขับเคลื่อนแนวคิดสำหรับการทำงานร่วมกันต่อไป"
////