“ ประชาธิปไตย ” ในนิยามของอเมริกา ผ่านการประชุม Leaders'Summit for Democracy   

 

 

เมื่อวันที่ 11 ส.ค. 2564 เว็บไซต์ทำเนียบขาวเปิดเผยแถลงการณ์ระบุว่า ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ของสหรัฐฯ จะทำการเชิญผู้นำประเทศประชาธิปไตยของโลกที่มาจากการเลือกตั้งเข้าร่วมการประชุม Leaders'Summit for Democracy แบบ virtual summit ระหว่างวันที่ 9 - 10 ธันวาคมนี้ โดยมีหัวข้อหลักในการประชุมทั้งหมด 3 ประการ คือ การป้องกันระบอบเผด็จการอำนาจนิยม การต่อสู้กับคอร์รัปชัน และการส่งเสริมความเคารพต่อสิทธิมนุษยชน ทว่า จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นจดหมายเรียนเชิญมีหน้าตาเป็นแบบไหน และยิ่งไปกว่านั้น ยังไม่มีข่าวจากทำเนียบขาวว่าได้สรุปรายชื่อผู้นำประเทศที่จะได้รับเชิญให้เข้าประชุมฯนี้อย่างเป็นทางการแล้วหรือไม่อย่างไร ที่จริงแล้วในระหว่างการหาเสียง ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้สาบานว่าจะกอบกู้ "ประชาธิปไตย" ที่เสื่อมโทรม และจัด "การประชุมสุดยอดประชาธิปไตยระดับโลก" แต่การจัดประชุมแบบนี้ย่อมต้องผชิญกับความท้าทายอย่างมากในการเป็นเจ้าภาพ

ความท้าทายประการแรกคือ: เขาจะเชิญใครมา? หรือถามอีกวิธีหนึ่งคือ ใครควรได้รับเชิญ?

จะตอบคำถามนี้ได้ต้องย้อนไปดูการจำกัดความของคำว่า "ประชาธิปไตย" โดยเฉพาะการนิยามคำว่า"ประเทศประชาธิปไตย" ในแบบทำเนียบขาว ไม่ว่าโจ ไบเดนหรือทำเนียบขาวจะนิยามคำนี้อย่างไรในทางทฤษฎี ย่อมทำให้ความหลากหลายของการพัฒนาประชาธิปไตยถูกจำกัดความแคบลง

แม้ว่าทางสหรัฐฯยังไม่ได้เผยแพร่รายชื่อประเทศอย่างเป็นทางการ แต่จากเอกสารฉบับหนึ่งที่สำนักข่าว politico เปิดเผยเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าบางประเทศ เช่น ตุรกีและฮังการี ไม่ได้รับเชิญ โดย politicoระบุบว่าเพราะ "ผู้นำของประเทศเหล่านี้ทำลายระบบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่องมาหลายปี"

ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์The Washington Post เคยระบุว่ามีผู้นำหลายประเทศที่อาศัยข้ออ้างของการเลือกตั้งตามกระบวนการประชาธิปไตยแต่มีการแทรกแซงหรือบิดเบือนคะแนนเสียงจากการเลือกตั้งที่ได้ ควบคุมการทำงานของสื่อมวลชนและระบบศาลในประเทศ รวมทั้งมุ่งปราบปรามผู้ที่คัดค้านหรือเป็นฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง

ที่น่าสนใจคือประเทศไทยเราก็ไม่ได้ปรากฎชื่อในเอกสารฉบับนี้ เพราะด้วยเหตุดังกล่าวหรือไม่ไม่มีใครทราบ แต่ไต้หวันกลับเป็นหนึ่งในผู้ได้รับเชิญตามรายชื่อที่ได้เปิดเผยโดยสำนักข่าว politico

หนังสือพิมพ์ The Washington Post ยังรายงานด้วยว่า การประชุมครั้งนี้จะมุ่งในเรื่องความพยายามผนึกกำลังของรัฐบาลประเทศที่เป็นประชาธิปไตยเพื่อต้านทานจีนและความพยายามของจีนที่จะแพร่ขยายอิทธิพลทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร เพราะฉะนั้น ประเทศจีนและรัสเซียไม่ได้อยู่ในลิสต์นี้ก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจนัก

เจ้าหน้าที่ทำเนียบขาวกล่าวว่าสหรัฐฯไม่ได้พยายามกำหนดว่าใครเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ แต่สิ่งที่กำลังมองหาคือความมุ่งมั่นตั้งใจและความสามารถที่จะส่งเสริมให้เกิดประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนซึ่งมีความหมายอย่างแท้จริง ฟังแล้วดูดี แต่คำอธิบายนี้ยังไม่สามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการนิยามคำว่า"ประเทศประชาธิปไตย" ในแบบทำเนียบขาวได้ และประเทศที่ได้รับเชิญดังกล่าวย่อมขาดความหลากหลายและความครอบคลุม(tolerance)ตามหลักความเป็นประชาธิปไตย

ความท้าทายประการที่สองคือ:ข้อบกพร่องของ "ระบอบประชาธิปไตย" ในแบบอเมริกา

ศตวรรษที่ผ่านมา สหรัฐอเมริกามักจะเรียกตัวเองว่าเป็น "ประภาคารแห่งประชาธิปไตย" ชอบเผยแพร่ประชาธิปไตยแบบสหรัฐฯในทั่วโลก ส่งเสริมความเป็นปฏิปักษ์กันด้วยกำลังรุนแรง

กลางปีที่ผ่านมา สหรัฐฯได้ถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานทั้งหมด ถือเป็นการยุติปฏิบัติการทางทหารในอัฟกานิสถาน 20 ปีอย่างเป็นทางการ แต่ 20 ปีที่ผ่านมา การปฏิบัติการทางทหารส่งผลให้พลเรือนชาวอัฟกันเสียชีวิตมากกว่า 100,000 คนภายใต้การปฏิบัติการของกองทัพสหรัฐฯ และพันธมิตร และมีผู้พลัดถิ่นมากกว่า 10 ล้านคน

สื่อสเปน POLITICA EXTERIOR ได้วิเคราะห์และวิจารณ์ว่า การที่สหรัฐฯ ถอนตัวจากอัฟกานิสถานหลังสงคราม 20 ปี ทิ้งรัฐบาลที่ล่อแหลมซึ่งถูกคุกคามโดยกลุ่มตอลิบาน แสดงถึงการสิ้นสุดยุคแห่งการแทรกแซงทางทหาร จากการปฏิบัติการที่เรียกว่าสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ถึงปฏิบัติการที่ใช้โดรนและกองกำลังพิเศษเป็นพื้นฐานและปฏิบัติการที่อ้าง "หน้าที่การคุ้มครอง" ดูเหมือนว่าการแทรกแซงทางทหารในรูปแบบต่างๆ (จากเยเมนถึงมาลี และลิเบีย) ดูเหมือนจะไม่มีผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ...

ความวุ่นวายของสหรัฐฯในปัจจุบันยังสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาที่ถูกซ่อนไว้ภายใน "ประภาคารแห่งประชาธิปไตย" ด้วย เรื่องนี้เห็นได้ชัดจากม็อบบุกสภาคองเกรส เมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา ซึ่งรัฐสภาสหรัฐฯได้จัดประชุมรวบรวมผลการลงคะแนนเสียงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของรัฐต่าง ๆ แต่กิจกรรมเชิงพิธีการดังกล่าวนี้ กลับก่อเกิดความวุ่นวาย และกลายเป็นเหตุนองเลือดที่ช็อกไปทั่วโลก และทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน จนกรุงวอชิงตันต้องประกาศเคอร์ฟิว

เรื่องราวต่างๆนานาที่กล่าว¬มาข้างต้นล้วนแล้วแต่ทำให้เราเห็นถึงข้อบกพร่องของ "ระบอบประชาธิปไตย" ในแบบอเมริกา และทำให้การจัดประชุมครั้งนี้ขาดความน่าเชื่อถือ ยิ่งไปกว่านั้นการจัดประชุมที่อ้าง"ประชาธิปไตย"แบบนนี้ยังมีเป้าหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ที่แอบแฝงอยู่ คือจะบีบบังคับให้รัฐบาลประเทศต่างๆมาลงขันด้วยเดิมพันที่เรียกว่า "ประชาธิปไตย" นั้นเอง

 

 

 

 




หวยเด็ดงวดนี้
เรื่องอื่นๆในหมวด