ชี้แจงงบประมาณปี 69  การชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569   

          ชี้แจงงบประมาณปี 69 การชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 สภาผู้แทนราษฎร

             กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย อบจ. 4 แห่ง เทศบาลนคร 1 แห่ง เทศบาลเมือง 10 แห่งรวม 15 แห่ง เข้าร่วมประชุมชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 สภาผู้แทนราษฎร

            วันที่ 22 กรกฎาคม 2568 ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ พลตำรวจเอกสมศักดิ์ จันทะพิงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์มอบหมายใ ห้นายมานพ บุญผสม รองนายกอบจ.นครสวรรค์ เป็นผู้แทนเข้าร่วมประชุม ชี้แจงงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ 2559 โดยมีอบจ.ที่เข้า ชี้แจงประกอบด้วย อบจ.กำแพงเพชร อบจ.นครสวรรค์ อบจ.พิจิตรและอบจ.อุทัยธานี โดยนายสุนทร รัตนากร นายกอบจ.กำแพงเพชร เป็นผู้ชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการ ส่วนเทศบาลนครมีเพียง 1 แห่งคือเทศบาลนครนครสวรรค์ เข้าร่วมประชุมโดย นายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรี ส่วนเทศบาลเมืองมี 10 แห่ง ในส่วนของจังหวัดนครสวรรค์  ณ ห้องประชุมศูนย์สั่งการและควบคุมการปฏิบัติ อบจ.นครสวรรค์ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วยนายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีนครนครสวรรค์ พร้อมด้วยนายกเทศมนตรีเมืองชุมแสง นายกเทศมนตรีเมืองตาคลี นายกเทศมนตรีเมืองหนองบัว ด้านงบประมาณตามร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 อบจ.กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย อบจ.กำแพงเพชรอบจ.นครสวรรค์ อบจ.พิจิตรและอบจ.อุทัยธานี ได้รับงบประมาณรวม 169,239,500 บาท อุดหนุนทั่วไป 126,104,500 บาท  อุดหนุนเฉพาะกิจ 43,135,000 บาท ลดลงไป 31,772,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.96 ในส่วนของเทศบาลนครและเทศบาลเมือง กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2 รวมทั้งหมด 11 แห่ง งบประมาณรวม 2,151,297,400 บาท อุดหนุนทั่วไป 1,912,822,400 บาท อุดหนุนเฉพาะกิจ 238,475,000 บาท เพิ่มขึ้น 50,441,500 คิดเป็นร้อยละ 2.40

ในส่วนของอบจ.นครสวรรค์ งบประมาณรวม 468, 282,500 บาท อุดหนุนทั่วไป 415,713,500 บาท อุดหนุนเฉพาะกิจ 52,569,000 บาท เพิ่ม 6,064,400  คิดเป็นร้อยละ 1.31 และเทศบาลนครนครสวรรค์ งบประมาณรวม 662,830,900 บาท อุดหนุนทั่วไป 633,211,900 บาท อุดหนุนเฉพาะกิจ 29,619,000 บาท  ลดลง 10,395,100 บาท คิดเป็นร้อยละ 1.54

ด้านปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานของอบจ.
1. การจัดสรรงบบุคลากร รพ.สต.ถ่ายโอน ไม่เป็นไปตามกรอบอัตรากำลัง บุคลากรที่อบจ.รับโอนมาปฏิบัติในรพ.สต.อบจ.ต้องรับค่าภาระค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรเอง ซึ่งไม่เป็นไปตามประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเป็นภาระต่องบประมาณ 
2. การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ว่าจะเป็น ถนน ไฟฟ้า น้ำประปา ยังไม่ทั่วถึงและไม่ครอบคลุมพื้นที่เนื่องจาก งบประมาณในแต่ละปีที่จะนำบริหารจัดการนั้นมีอยู่อย่างจำกัดเพื่อช่วยปรับความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก

ด้านปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานเทศบาลนคร/เทศบาลเมือง 
1. เงินอุดหนุนสำหรับการจัดการศึกษาภาคบังคับ(ค่าเช่าบ้าน) หากมีการรับโอนย้ายพนักงานครูระหว่างปีงบประมาณ มีผลทำให้งบประมาณไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่าย 
2. การพิจารณาจัดสรรงบเงินอุดหนุนสำหรับสนับสนุนสถานศึกษา สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการจัดการศึกษาลักษณะพิเศษ(โรงเรียนกีฬา) พิจารณาจากจำนวนนักเรียนตามระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น(LEC) ในเดือนพฤศจิกายน ซึ่งการรับนักเรียนจริงจำนวนจะมากกว่า จึงส่งผลให้งบประมาณไม่เพียงพอต่อการเบิกจ่ายตลอดปีงบประมาณ 
3. ระบบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ มีความซับซ้อนในการจัดทำรายงาน ซึ่งต้องรายงานทั้งกรมบัญชีกลางและสำนักงบประมาณ 
4. เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองกำแพงเพชร ที่ปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 ขาดขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน เนื่องจากคณะกรรมการกระจายอำนาจ ได้มีมติเห็นชอบรายการทำขอรายการเงินอุดหนุน เพื่อบรรจุข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่นด้านสาธารณสุข ที่ปฏิบัติงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เป็นกรณีที่มีเหตุพิเศษ แต่ไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในรายการดังกล่าวเหมือนกับหน่วยงานอื่น

ข้อเสนอแนะ 
1. ขอให้พิจารณากรอบวงเงินที่จะจัดสรรให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ให้เพียงพอต่อการจัดบริการสาธารณะ ตามภารกิจที่ถ่ายโอนให้กับท้องถิ่น เช่น สถานีขนส่งผู้โดยสาร สนามกีฬา ถนนทางหลวงท้องถิ่น สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ซึ่งภารกิจข้างต้นเป็นประโยชน์ต่อประชาชนโดยส่วนรวม แต่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เพื่อให้กิจกรรมโครงการครอบคลุมทุกด้าน ซึ่งควรเพิ่มกรอบวงเงินภาระกิจถ่ายโอนนี้ ไม่ควรปรับลดงบประมาณด้านอื่นๆลง 
2. สำนักงบประมาณส่วนพิจารณาทบทวนให้ใช้ข้อมูลจำนวนนักเรียนตามระบบสารสนเทศทางการศึกษา(LED) ณ เดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงเปิดภาคเรียน และเป็นข้อมูลจำนวนนักเรียนจริง แทนข้อมูลจำนวนนักเรียน ณ เดือนพฤศจิกายน 
3. สำนักงบประมาณควรพิจารณาให้มีการยื่นคำของบประมาณเพิ่มเติมในระหว่างปี เพื่อแก้ไขปัญหางบประมาณไม่เพียงพอ 
4. ควรพัฒนาระบบรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณ ให้เป็นระบบบูรณาการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เพื่อให้การติดตามและประเมินผลการใช้จ่ายงบประมาณมีความถูกต้อง โปร่งใส และลดภาระซ้ำซ้อนในการปฏิบัติงานของหน่วยรับงบประมาณ
////
ชาติชาย เกียรติพิริยะ/นครสวรรค์