สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ภาค 6 ภายใต้ โครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต
วันที่ 30 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2568 ณ โรงแรมฟรายเดย์ จังหวัดอุตรดิตถ์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดยกลุ่มประสานการป้องกันการทุจริต ภาค 6 จัดกิจกรรม สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้สมาชิกชมรม STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต ในพื้นที่ภาค 6 ภายใต้ โครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต (แผนงานสนับสนุนและติดตามประเมินผลการดำเนินงานของส่วนปฏิบัติการพื้นที่ภาค 6) ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 1 กรกฎาคม 2568
นางสาวเสริมศรี บุญคง ผู้อำนวยการกลุ่มประสานการป้องกันการทุจริต ภาค 6 ในนาม ผู้จัดโครงการ กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน ถึงวัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้
โดยได้รับเกียรติจาก นายสุพจน์ ศรีงามเมือง รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. ภาค 6 เป็นประธานในพิธีและได้กล่าวเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ พร้อมแสดงความคาดหวังว่า การสัมมนาครั้งนี้จะสามารถสร้างแนวทางที่เป็นรูปธรรม และสามารถนำไปปรับใช้เพื่อยกระดับมาตรการป้องกันการทุจริตให้เข้มแข็งมากยิ่งขึ้นในระดับภาค
ขอให้การดำเนินโครงการในครั้งนี้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทุกประการ
โครงการ STRONG - จิตพอเพียงต้านทุจริต มุ่งเน้นการสร้างจิตสำนึกและวัฒนธรรมต้านทุจริตในสังคม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน สนับสนุนให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาความเข้มแข็งของชมรม STRONG ในพื้นที่อย่างยั่งยืน
การสัมมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกชมรม STRONG จาก 8 จังหวัดในภาค 6 ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและขยายผลในระดับพื้นที่ โดยมีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย โค้ช กรรมการ และสมาชิกชมรม STRONG จำนวน 38 คน เจ้าหน้าที่สำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัด จำนวน 16 คน และผู้อำนวยการสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดในภาค 6 อีก 4 ท่าน เข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ ในการนี้ จะมีการนำเสนอผลการดำเนินงานกิจกรรม "จับตามองแจ้งเบาะแส (Watch & Voice)" ซึ่งเป็นภารกิจหลักของชมรม STRONG โดยคัดเลือกประเด็นเด่นที่สามารถต่อยอดเป็นแนวทางลดความเสี่ยงจากการทุจริตในพื้นที่ ได้แก่
1. ประเด็นสินบนหรือการเรียกรับประโยชน์ตอบแทน ในการอนุมัติ อนุญาต
2. ประเด็นการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานภาครัฐฯ
โดยมีชมรมสตรอง 9 จังหวัดเข้ามาร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ การสัมมนาครั้งนี้ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ แลกเปลี่ยน ปัญหาต่างๆ นำมาบูรณาการ ร่วมกันเพื่อนำประสบการณ์ของแต่ละจังหวัดได้นำไปปรับใช้ต่อไป